วันเสาร์, สิงหาคม 20, 2554

เหรียญสองด้าน กับ ชีวิตคน


    คนเราก็เหมือนเหรียญสองด้าน มีทั้งขาวกับดำ หยินกับหยาง


คนทุกคนก็ล้วนมีด้านมืดกับด้านสว่างด้วยกันทั้งนั้น

เราควรเลือกที่จะคบและมองเขาที่ด้านดี 

    ด้านไม่ดีของเรา เราก็ควรเลือกที่จะวางเฉย

คิดว่าเป็นธรรมชาติของเขา คนเราคงไม่มีใครเปลี่ยนใครได้ทุกคนหรอก

เราคงไม่สามารถทำให้คนทั้ง 100 คนมารักเราได้
แค่มีหนึ่งคนที่รักเรา ก็ยังดีกว่าไม่มีรักและหวังดีกับเราเลย

เช่นเดียวกับบทความนี้  

เหรียญสองด้าน กับ ชีวิตคน


การที่เราจะคบใครสักคนหนึ่ง ไม่ว่าจะในฐานะอะไร

โปรดจำไว้ว่า.... มนุษย์ เป็นสิ่งที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ในนั้น
อย่าตั้งใจกับคนหนึ่งคนมากเกินไป ....เพราะไม่มีใครอยากเป็นต้นเหตุของความล้มเหลว

อย่าคาดหวังกับคนหนึ่งคนมากเกินไป ....เพราะไม่มีใครสามารถเป็นได้ทุกอย่าง ที่ทุกคนอยากให้เป็น

อย่าให้เวลากับคนหนึ่งคนมากเกินไป
....เพราะไม่ว่าใครก็อยากมีช่วงเวลาของความเป็นส่วนตัว....คนเดียว

อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงคนหนึ่งคนมากเกินไป

....เพราะนั่นจะทำให้เขาไม่หลงเหลือความเป็นตัวของตัวเอง

อย่าควบคุมคนหนึ่งคนมากเกินไป

....เพราะมนุษย์มักจะหาวิธีออกจากกฏเกณฑ์ที่ถูกกำหนด

และสุดท้าย..... อย่าบีบบังคับคนหนึ่งคนมากเกินไป

....เพราะถ้าคนๆนั้นหลุดจากภาวะบีบบังคับมาได้


>>>>>>>>>>>>>>>>> คุณจะถูกหันหลังให้ในทันที !!!!!





วันอังคาร, สิงหาคม 16, 2554

คำศัพท์ภาษาเหนือ

คำศัพท์ภาษาเหนือ

คำศัพท์ตัวอย่าง(ภาษาเหนือ)

คำศัพท์ตัวอย่าง(ภาษาเหนือ)จำนวนนับ


1 = นึ่ง

2 = สอง

3 = สาม

4 = สี่

5 = ห้า

6 = ฮก

7 = เจ๋ด

8 = แปด

9 = เก้า

10 = ซิบ

11 = ซิบเอ๋ด

20 = ซาว

21 = ซาวเอ๋ด



พืช ผัก ผลไม้

มะละกอ = บะก้วยเต๊ศ

กล้วยน้ำว้า = ก้วยอ่อง / ก้วยนิอ่อง

มะตูม = บะปีน

ส้มเขียวหวาน = ส้มเกลี้ยง เขียวหวาน

แตงล้าน = ม่ะแต๋งซั้ง ( ร้านที่ทำให้เครือแตงพันขึ้นไป ทางเหนือเรียกว่า ซั้ง )

น้อยหน่า = ม่ะหน้อแหน้ / น้อยแหน้

บวบงู = ม่ะนอยงู

มะเขือเปราะ = บะเขือผ่อย

มะเขือยาว = บะเขือขะม้า - - ออกเสียง ม่ะเขือขะม่า / ม่ะเขือหำม้า

มะระขี้นก = บะห่อย

แตงกวา = บะแต๋ง

กล้วย = เชียงใหม่ เรียก ก้วยใต้ ลำปาง เรียก ก้วยลิอ่อง หรือ ก้วย โก๊ย

กล้วยน้ำว้า = ก้วยใต้

พุทรา = หม่ะตัน

ละมุด = หม่ะมุด

กระท้อน = บะตื๋น หมะต้อง

มะปราง = บะผาง

ฝรั่ง = บ่ะหมั้น,บะแก๋ว

ขนุน = หม่ะหนุน,บ่ะหนุน

มะพร้าว = บะป๊าว

ส้มโอ = บะโอ

ฟักทอง = บะฟักแก้ว /บะน้ำแก้ว/น้ำแก้ว

ฟักเขียว = บะฟักหม่น

มะแว้ง = บะแขว้งขม

มะเขือพวง = บะแขว้ง /บ่ะแขว้งกุลา

ลูกยอ = หม่ะต๋าเสือ

มะเขือเทศ = บะเขือส้ม

กระท้อน = บะตึ๋น

ตะไคร้ = ชะไคร

คึ่นช่าย = ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน)

ผักตำลึง = ผักแคบ

ชะพลู = ผักแค ใบปูนา ปูลิง



สัตว์

จิ้งหรีด = จิ้กุ่ง,จิ้หีด

ค้างคก = ค้างคาก กบตู่

ลูกอ๊อด = อีฮวก

ปลาไหล = ปลาเอี่ยน ปลาเหยี่ยน

จิ้งเหลน = จั๊ก-กะ-เหล้อ

กิ้งก่า = จั๊ก-ก่า



เครื่องใช้

กรรไกร = มีดยับ มีดแซม

กระดุม = บะต่อม

เข็มขัด = สายแอว สายฮั้ง

ช้อน = จ๊อน

ทับพี = ป้าก

ถุงเท้า = ถุง**

ผ้าเช็ดตัว = ผ้าตุ้ม

ผ้าห่ม = ผ้าต๊วบ

ยาสูบ = ซีโย

รองเท้า = เกือก /เกิบ

รองเท้าฟองน้ำ = แค็บ



คำกริยา

กำปั้น หมัด = ลูกกุย

โกรธ = โขด

กลับ = ปิ๊ก (เช่น "เฮาปิ๊กบ้านละหนา")

กางร่ม = กางจ้อง

โกหก = วอก ขี้จุ๊

กิน = กิ๋น

ก่าย = ปาด อิง

ขโมย = ขี้ลัก

ขี่หลังคน(เกาะ) = เก๊าะ

ขี้เหนียว = ขี้จิ๊

คิด = กึ๊ด

เครียด = เกี้ยด

จริง = แต๊(เช่น "แต๊ก๊ะ" = "จริงหรอ")

เจ็บ = เจ๊บ

ใช้ = ใจ๊

ดู = ผ่อ

เด็ก = ละอ่อน

ตกคันได = ตกบันได

เที่ยว = แอ่ว

ทำ = ยะ(เช่น "ยะหยัง" = "ทำอะไร")

นั่งพับเพียบ = นั่งป้อหละแหม้

นั่งขัดสมาธิ = นั่งขดขวาย

นั่งยอง ๆ = นั่งข่องเหยาะ,หย่องเหยาะ

นั่งไขว่ห้างเอาเท้าข้างหนึ่งพาดบนเข่า = นั่งปกขาก่ายง้อน

นั่งวางเฉย นั่งหัวโด่ = นั่งคกงก(ก๊กงก)

นั่งลงไปเต็มที่ตามสบาย(โดยไม่กลัวเปื้อน) = นั่งเป้อหละเหม้อ, นั่งเหม้อ

พูด = อู้

รัก = ฮัก

รู้ = ฮู้

ลื่นล้ม = ผะเริด

วิ่ง = ล่น

สวมรองเท้า = ซุบแข็บ

สะดุด = ข้อง

สวยจังเลยนะ = งามหลายน้อ

สบายอกสบายใจ = ซว่างอกซว่างใจ๋

เหรอ = ก๊ะ

ห่วง = ห่วง (คำเมืองแท้ๆคือ อ่วง ว้อง หรือ ข๋าง)

เหนื่อย = อิด หม้อย

ให้ = หื้อ

อยาก = ไข

อยากอ้วก อยากอาเจียน = ใขฮาก

อร่อย = ลำ

อร่อยมาก = จ๊าดลำ

อย่าพูดมาก = จ๊ะไปปากนัก

อย่าพูดเสียงดัง = จ๊ะไปอู้ดัง

คิดไม่ออก = กึ๊ดหม่ะออก



คำวิเศษณ์ และอื่นๆ

ก็ = ก่

** = ง่าว

เช่น = เจ้น

ถึง = เถิง

ไม่ = หมะ(เช่น หมะใจ๊ = ไม่ใช้)

นะ = เน้อ(เช่น เน้อครับ = นะครับ)

เป็น = เป๋น

ร่ม หมายถึง ร่มเงา = ฮ่ม

ร่ม หมายถึง (ร่มกันแดด-กันฝน) = จ้อง

ใหญ่ = หลวง(เช่น "หูหลวง" = "หูใหญ่")

เหนียว = ตั๋ง

ทุก = กุ๊ (เช่น กุ๊ๆ คน= ทุกๆคน)

แบบนี้ อย่างนี้ = จะอี้

แบบนั้น อย่างนั้น = จะอั้น



คำนาม สรรพนาม[/b]

ฉัน = เปิ้น (สุภาพ) , ฮา(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

เธอ = ตั๋ว(สุภาพ) , คิง(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

เขา(สรรพนามบุรุษที่ 3) = เปิ้น

ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา = อุ้ย (เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)

ผู้ชาย = ป้อจาย

ผู้หญิง = แม่ญิง

พวกเขา = หมู่เขา

พวกเธอ = สูเขา (สุภาพ), คิงเขา(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

พวกเรา = หมู่เฮา, เฮาเขา

พ่อ = ป้อ

พี่ชาย = อ้าย,ปี่

พี่สาว = ปี่

ยี่สิบบาท = ซาวบาท

ยี่สิบเอ็ด = ซาวเอ็ด

เรือน = เฮือน

โรงเรียน = โฮงเฮียน

อิฐ = บ่าดินกี่

คำเล่าลือ = กำสีเน

ปฏิทิน = ปั๊กกะตืน คำเมืองแท้ๆจะแปลว่าปฏิทิน







สี

ดำคึลึ = คนอ้วนล่ำผิวดำ

ดำผืด = ฝูงนกฝูงกาขนดำอยู่เป็นฝูง

ดำคุมมุม = ดำสลัวอยู่ในความมืด

ดำขิกติ้ก = ดำซุปเปอร์

ดำคิมมิม = คนผอมกระหร่อง ผิวดำ

ดำเหมือนเเหล็กหมก = ดำเหมือนเหล็กไหม้ไฟ

ดำเหมือนหมิ่นหม้อ = ดำเหมือนเขม่าติดหม้อดินที่ไหม้ไฟ

ดำผึด = ดำทั่วทั้งแถบ

ดำผึดำผึด = ดำมากๆทั่วๆไป

แดงฮ่าม = แดงอร่าม

แดงเผ้อเหล้อ = แดงเป็นจุดใหญ่จุดเดียว

แดงปะหลึ้ง = แดงจัดมาก

แดงปะหลิ้ง = แดงอมชมพู แดงเป็นจุดเล็กๆ

เหลืองฮ่าม = เหลืองอร่าม

เหลืองเอิ่มเสิ่ม = เหลืองอมส้ม

เขียวอุ้มฮุ่ม = เขียวแก่

เขียวปึ้ด = เขียวจัดมาก

มอยอ้อดฮ้อด = สีน้ำตาลหม่น

ขาวจั๊วะ = ขาวนวล

ขาวโจ๊ะโฟ้ะ = ขาวมากๆ

ขาวเผื้อะขาวเผือก = มองไปทางไหนก็ขาวไปหมด

เปิดเจ้อะเห้อะ = สีขาวซีด

หม่นซ้อกป้อก = หม่นมัวหรือเทาอ่อน

หม่นโซ้กโป้ก = หม่นสกปรกหรือสีเทาแก่

หมองซ้อกต๊อก = ดูเก่า หรือซีด จืดไป

เส้าแก๊ก = สีหม่นหมองมาก

เส้าตึ้มตื้อ = ใบหน้าหมองคล้ำ สีมืดไม่สดใส

ลายขุ่ยหยุ่ย = ลายพร้อย หรือลายเป็นดอกดวง

ใสอ้อดหล้อด = สดใสแบบอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ

ใส่ยงยง = สว่างจ้า







แสง-เสียง

มืดแถ้ก = มืดสนิท

มืดสะลุ้ม = มืดสลัวๆ

มืดซุ้มซิ้ม = มืดนิดๆ

มืดวุ่ยวาย = มืดลางๆ ยังพอจำหน้ากันได้

แจ้งฮุมหุฮุมหู่ = สว่างลางๆเลือนๆ

แจ้งฮ่าม = สว่างจ้าสว่างเรืองรอง

แจ้งลึ้ง = สว่างโร่เห็นได้ชัด

แจ้งดีขวายงาม = สว่างปลอดโปร่งโล่งใจไม่มีอุปสรรค

หันวุยวาย = เห็นเลือนๆลางๆ

ดั้กปิ้ง = เงียบกริบ

ดั้กปิ้งเย็นวอย = เงียบเชียบ

ดั้กแส้ป = ไม่ได้ข่าวคราว

ดั้กก๊กงก = นั่งนิ่ง

ดังทึดทึด = เสียงดังก้องไปทั่ว



กลิ่น รส

เหม็นโอ๊ง, เหม็นโอ่ = เหม็นเน่า

จ๋างแจ้ดแผ้ด = จืดชืด

ขมแก๊ก = ขมมาก

ส้มโจ๊ะโล๊ะ = รสเปรี้ยวมาก

ฝาดหยั่งก้นตุ๊ = รสฝาดมาก

พืชผักผลไม้

17 มะละกอ มะละกอ ลอกอ ละกอ บักกอ มะกอ ไอ้กอ หมากกอ มะก้วยเต้ด บ่าก้วยเต้ด หม่าก้วยเต้ด มะเทด มะคะเต้ก บักฮุง มะหุง มะฮุง กะฮง มะฮง บักหุ่ง หมากฮูง หม่าหุ่ง หมากหุ่ง กล้วยหลา บะก้วยเต้ด บ่าเต้ด มะก้วยสะเปา ก้วยสะเปา เวาะบือเตะ แตหลา แมลอ ละฮ่อง ไปรฮอง ก๊อดจี สะกุ๊น เซซ่า เดี้ยงกวา บูว็อกมือติ หมากซางพอ

18 สับปะรด สับปะรด สับรด ส้มรด สำม่ะร่ด มะขะนัด บะขะหนัด หมากนัด บ่าขะหนัด หม่าขะหนัด ม่านัด มะนัด อึหนัด ลูกหนัด บักนัด ย่าหนัด ย่านหัด ฮะนัด มะขัด มะลิ หนุนทอง บักออ มะออ หม่าออ หมากออ เวาะลานัส ลานะห์ มะฮองนาด ระนัด มะเนื๊อะ ไปรอนาด รากกะตา แนะซ่า ไล้เจี๋ยว หมากเก๋ง

19 พุทรา บักทัน หมากทัน บะตัน มะทัน มะตัน มักทัน หมากกะทัน บักกะทัน กะทัน มะกะทัน บ่าตัน หม่าตัน หม่าทัน พุทรา ทรา ส้มทรา มักซา มะซา ปะซา เวาะดารอ กันเดริ๊ยะ ไปรทัน ไปรคร่า ไปลบักทัน อะโต่ ปะเตรีย มะเรีย หมากขอ

20 ขนุน ขนุน มะหนุน หนุน ลูกหนุน กะหนุน ลูกขือหนุน มะนุน บะหนุน บ่าหนุน หม่าหนุน ขนัน หมากมี่ บักมี่ มะมี้ หม่ามี้ มี บักหม เวาะนากอ ขนอ๊ล ขนอล ไปรมี่ อะนอล ไปรอะนัน อะแนล ไปลสะเดีย อะเนาะ เป๊อแหย่วซ่า หมากลาง

21 ฝรั่ง ฝรั่ง หรั่ง หมากสีดา บักสีดา มะสีดา มะสีดา สีดา ก้วยสะดา สะดา ย่าหมู ชมพู่ ชุมโพ่ มะก้วย บ่าก้วย บะก้วย มะก้วยก่า บ่าก้วยก่า บะก้วยเกี๋ยง มะก๋า มะแก๋ว มะก้วยแก๋ว มะอุ้ย บักโอ่ย หม่าโอ่ย หมากโอ่ย บะหมั้น หม่ามั่น บ่ามั่น มะมั่น บะหมุด มะปุน บักปุ่น บักกุ่น เวาะยามู ลูกมู ไปรเดีย ไปรสีดา มะเพา ละปู๊ด สะเดีย ตะแบก นังกา

22 น้อยหน่า น้อยหน่า น้ำหน่า น้ำแหน่ น้อยแหน่ มะน้อแน้ บะน้อแน้ บ่าน้อแน้ หม่าหน้อแหน้ มะนะแหน่ มะแน้ หมากเขียบ บักเขียบ มะเขียบ มักเขียบ บักเสียบ หม่าเขียบ บักเฉียบ มะเคบ ตีบ แลหนัง ผะหรั่ง เวาะนอแน ปีน่า ลอแน หมะเก็ดแฮด ไปรคีบ อึคีบ อะเริ่ด ซิคึ่ยซ่า โง้งจะตุ้ยเบี้ยว อังเคือบ อังเคียบ หมากโอจ่า

23 แตงโม แตงโม หมากแตงโม บักแตงโม มะแตงโม หมากโม บักโม มะโม หม่าโม แตงจีน มะเต้า บ่าเต้า บะเต้า หม่าเต้า ตีมุง ลูกแตง แตง หมากแตง มะแตงน้ำ แต๋งเต้า อุเลอะ ไปรแกลนโปง เมนฮ้อ อึแกล อะโยน ต่อแต๊ะซ่า กวาต๋ม อังแกนปูง

24 มันแกว มันแกว มันแก๋ว บ่ามันแก๋ว มันแก๋วละแวก มันแก๋วลาว มันแกวตะเภา มันแก๋วสำเภา มันสะเพา มันตะเพา มันเพา ถั่วกิ๋นหัว มันละแวก มันกินดิบ มันเทศ มันดั้ง หัวถั่ว หัวบ่าหวัง บังกวน หัวแป๊ะกัว ถั่วกก หัวกุ้ยเล้า อูบีกือแต ฮุบีกากง มัน บักเอิน มะขะตู๋ม เมนฮ้อ ตะโลงแกว อะปอง ปงแกว ปงเลีย ตำโลงบอ ตำโลงจะเวีย ปองเวียลฉะเพา แหยว่จ่อปา ตบด้อย ปองบูน หัวนังควะ หัวเอ็น ถั่วจงกว๊ะ

25 กระท้อน กะท้อน ลูกท้อน ส้มท้อน สะท้อน กระท้อน กะท่อน บักกะท้อน ท้อน มะตื๋น บะตื๋น บ่าตื๋น หมากตื๋น มะต้อง หมากต้อง บักต้อง บะต๊อน บ่าต้อง หมากกะต้อง บะต้อง มะตอง หม่าต้อง หม่าต๊อง เวาะซือโต ปิงเรียก ไปลกะทอน อะตัย แพตอง ปลายตอง อังตอง

26 กล้วยน้ำว้า ก้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้า ก้วยน่ำว่า ก้วยใต้ กล้วยลีอ่อง ก้วยถะนีออง กล้วยตานีอ่อง ก้วยมะลิอ่อง ก้วยอีอ่อง ก้วยอ่อง ก้วยออง กล้วยส้ม กล้วยน้ำ หมากก้วยน้ำ กล้วยเท่า กล้วย มะกล้วย บักกล้วย หมากก้วย กล้วยบาวมะระ กล้วยเด็กน้อย กล้วยขาว กล้วยตีบ กล้วยกาบบาง ปีแซกือละบาฆะ ปีแซเวาะ เจ๊กออง เจ๊กเจีย เจ๊กซอ เจกนำวา เจกมะลีย เปรียด เปรียดถะนีอ่อง เปรียดน้ำว้า เปรียดมะลิ ไปลหมากตอง ปราดอเกิ่ง เซ่อกุ๊ยเซ่ซ่า ฒี้เบี้ยวซบ

27 มะเขือพวง มะเขือพวง บักเขือพวง เขือพวง ลูกเขือพวง มะแคว้งกูลา บ่าแคว้งกูลา มะแขว้ง หม่าแขว้ง หมากแขว้ง บ่าแขว้ง บักแข้ง หมากแข้ง บ่าแข้ง มะแก้ง มะแข็ง มะแฮ้ง มะแค้ง มะเขือแว้ง เขือแว้ง ลูกมะแว้ง ลูกแว้ง บะแว้ง บะเขือแจ้ เขือข้อย เขือเมือง ลูกเขือเทศ เขือเทศ มะเขือช่อ หมากแข้งหม่าน ลูกเขือตูน มะเขือละคร มะเขือชุมพร มะเขือเม็ด มะเขือแขก เวาะตือรงมาโงะ เวาะตือรงแชแวง ตร๊อบจังกอม ไปรเกิ๊ง ไปรพักกะแวง อึเกิ๊ง มะแฟ้ง ฮะดงโยน

28 ถั่วลันเตา ถั่วลันเตา โทลันเต๋า มะถั่วลันเตา บ่าถั่วลันเตา หมากถั่วลันเตา ถั่วน้อย บะถั่วน้อย ถั่วแขก ถั่วยัด บักถั่ว ถั่วแฮ ถั่วแป ถั่วแปบ หมากแปบ บักแปบ มะแปบ ถั่วดิน ถั่วน้ำเต้า ถั่วเปาะ ถั่วอีเตาะ ถั่วเพา ถั่วปี ถั่วกะแว กาแจกือปะ กาแจ กาแกโชยา ปะเปียบ สะแนก จะตอง กำเปอย สะแนกลันเตา กะตองลันเตา บอยลันเตา พะเพียยอะกาจร ตบกาม ละเปีอย

29 มะระ มะระ มะละ ลูกระ มระ บักระ หม่าระ หมากฮะ บักฮะ มะฮะ อึมระ มะห่อย บ่าห่อย หม่าห่อย บะห่อย ม่าเหิด หมากผักไซ บักผักใส่ ผักไซ หมากไซ บักไซ หมากซะไล มะสะไหล่ มะสะหลั่ย หมากผักไห่ ผักไห่ บักฟักไร่ มะขี้ตูด ลูกคุระ บะน้อย เวาะบียอ เวาะแตแล๊ะ มะเรี๊ยะ มะเจียะ ไปลมะหราะ อะเว อะแนบ อะโนง ซอถ่าซะ หม่ากูมกาม

30 กะชาย กระชาย กะชาย หัวชาย ไข่ชาย กะซาย ขิงซาย ขิงโคก ขิง ขิงกะชาย กระเจือย กะเชือย ดับซาว หัวละแอน แคง ตือมึงกูจิง กูยิบูเต๊ะห์ ดาโฮงกือสิง ปาฮองกูจา เทรีย ขึ้นส่าย ซูงเจี้ยะ อะซาย ห้งป่า กูชาร์

31 มันสำปะหลัง มันสำปะหลัง มันงิ้ว มันต้าง ผักต้าง มันเทศ มันต้น เมนต้น หัวมัน มันตาหนี มันไม้ มันโท้ มันโหรง มันสำโหรง มันล่า มันกอ มันทุ้ง มันห้านาที มันฮาก มันละอู มันซางพอ มันสะหลาง อูบีกายู อูบีแตลอ ปวาลวง แหยว่เซ เดี้ยงด้วย ตัลโลงเจ็น ฉะปอง ตะโลงโกร ตัลโลงสำปะหลัง ปงทอล อะปง ปงคา ปองสัมปะลัง วุ่นบาง ตำโรงปรำนาที ปองฮาม โหเม้น หม่าเหิด

32 หัวปลี หัวปลี หัวปี๋ หัวปี ปี๋ บักปี ปลีกล้วย ปลี ปี่โก้ย ปีก้วย หมากปี ดอกกล้วย ยวงเหล็ก บักสามเดือน ป๊อจ๊อ กูบิ ตะโยงเจ๊ก ยาตง จ.กะใยปลี๊ด ปองเปรียด ฮะโต้ะปราด เส่อกุ๊ยโด่โค่ ฒี้เบี้ยวต่อง

33 พริก พริก หมากพิก บักพิก พิก ลูกเผ็ด หมากเผ็ด หม่าเผ็ด ดีปลี ลีปลี มะเอือด มะขวิด มะขิด ลูกจีน หมะเผ็ด มะเผ็ด บักเผ็ด ลาดอ จาแบ ลูดโดด มะติ๊ เถ อะหราด อึนเตะ มะแทะ มื๊อซ่า ฟั้นจิ่ว อำปี

34 ฟักทอง มะน้ำแก้ว บ่าน้ำแก้ว หมากอึ บักอื๋อ มะอึ บักอึ หมากอื๋อ มะอุ๊ น้ำเต้า เต้าเทศ น้ำเต้าเทศ ฟักทอง บะฟักแก้ว หม่าฟักแก้ว บ่าฟักแก้ว มะฟักแก้ว ฟักแก้ว ฟักเหลือง หมากฟัก หม่าฟัก บะฟัก มะฟัก ลูกฟัก บักฟัก แตงทอง เวาะลาบู ระปูว กะผาว อะดึ๊อ กะเปา มะอูบ ปอยทอ หลู่เคซ่า ฟั้นโบ้ว

35 ข้าวโพด (ชนิดที่คนรับประทานโดยต้มใส่เกลือ) ข้าวโพด เข้าโคด โพด กะโพด กะโพ๋ด เข้าโปด ข้าวโป้ด เข้าโผดต้ม ข้าวโพดต้ม ข้าวสาลี เข้าสาลี หมากสาลี มะสะลี สะลี สาลี หมากสีลี มะสาลีหวาน สาลีกิน ข้าวป้าง ข้าวสโล ข้าวโดง คง ยาฆง ปู๊ด หมากสะลอย สะโก่น บือเคซ่า กะแหมะบยุด จะปัว ข้าวแข่

36 ข้าวโพด (ชนิดที่เอาไปทำเป็นแป้ง) ข้าวโพด เข้าโคด โพด ปู๊ด กะโพ๋ด กะโพด ข้าวโป้ด แป้งข้าวโพด แป้งข้าวโคด ข้าวโพดแป้ง ข้าวสาลี เข้าสาลี หมากสาลี มะสะลี สาลี แป้งสาลี หมากสีลี ข้าวโพดสาลี หมากสาลีแดง มะสาลีเข้าเหนว หมากสาลีเลี้ยงสัตว์ ข้าวป้าง ข้าวป้างแป้ง เข่าฟ่าง ข้าวโดง ข้าวโอ๊ด ข้าวสโล คง ข้าวแข่ ปาตียาฆง ตือปงดือบู ยาฆง คาโหนง เหวอะซะโก่น บือเคซ่า กะแหมะจิ้ จะปัว

37 เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เม็ดหมากม่วงหิมพานต์ เม็ดบักม่วงหิมพานต์ เม็ดบ่าม่วงหิบบานต์ เม็ดมะม่วงหิมปาน ในหมากม่วงหิมพานต์ ในบักม่วงหิมพานต์ บักม่วงหิมพานต์ เม็ดบักม่วงอินเดีย ในบักม่วงอินเดีย บักม่วงก้นงอ บ่ม่วงแตดห้อย ม่วงเล็ดล่อ ย่าร่วง ยาโห้ย เม็ดกาหยี ลูกท้ายล่อ ม่วงหัวชน หัวครก ม่วงชูเล็ด เม็ดม่วง หมากม่วงแกนนอก ม่วงล่อ เม็ดมะโป้ง มะม่วงกะลา บักก้นต่อ มะม่วงจิโห่ บูเตแตแร กาหยู ดากแหร ลูกแตแหร หน่วยแกแหร สวายกะดอกะเลิด กลางไปลขวาง กรองไปรกองหิมพาน บักม่วงซิลอละเก ไปลคอง กลองข่องกลัยเขล็ด เม๊ะเกริกหิมพานต์

38 ดอกลั่นทม ดอกลั่นทม เดาะลั่นทม กอหลั่นทม ดอกขอม ดอกจำปาลาว ดอกจำปาขาว จำปาแดง จำปาขอม จุมปาลาว จุมป๋า จำปา ดอกจำปา เดาะจำปา ดอกไม้จีน ดอกเข่า ดอกคันของ ดอกกะเลา บูฆอกูโบ บูงอจีนอ บูงอฆายอ กันตุมลุย ปกาจำไป ปีลลั่นทม เปลียนจำปา ปะกาจำปา ปากาลั่นทม ปีน เปลี่ยนจำปี พอบ่ออึ หมอกจ่ำแป่

วันเสาร์, สิงหาคม 13, 2554

คาถาสะเดาะเคราะห์ (ต่ออายุ)

(ให้ภาวนาทุกเช้า เย็น คนที่ดวงชะตาไม่ขาดก็ใช้ได้ ถือเป็นการต่อดวงชะตาชีวิต มีอานุภาพให้เกิดโชคลาภ และปราศจากอันตราย)


อิติปิ โส ภะคะวา พระอาทิตย์เทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระจันทร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระอังคารเทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระพุทธเทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระพฤหัสเทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระศุกร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระเสาร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระราหูเทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา พระเกตุเทวา วิญญาณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง

อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ

อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต

อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู

อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง

อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ

อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวา ภะคะวาติ









คาถาอารธนาพระเครื่อง

พุทธัง อาราธะนานัง ธัมมัง อาราธะนานัง สังฆัง อาราธะนานัง พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม

คาถาเมตตามหานิยม (คาถาพระสีวะลี)

พุทธังเมตตา นะ ชาลีติ ธัมมังเมตตา นะ ชาลีติ สังฆังเมตตา นะ ชาลีติ สีวะลีเมตตา นะ ชาลีติ โอมมะพะลัง วา ราชะกุมาโร วา ราชะกุมารี วา ราชา วา ราชินี วา คะหัฏโฐ วา ปัพพะชิโต วา สะมะโณ วา พราหมโณ วา อิตถี วา ปุริโส วา วาณิโช วา วาณิชา วา อุปาสะโก วา อุปาสิกา วา ทาระโก วา ทาริกา วา สัพเพ อิเม ชะนา พะหู ชะนา มัง ปิยายันตุ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิ จิตตัง ปิยัง มะมะ มะหาลาภะสักการา ภะวันตุ เม

คาถาหลวงพ่อโสธร (วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วว่าคาถานี้ทุกวันจะปลอดภัย ป้องกันอันตรายทั้งปวง ร่มเย็นเป็นสุขตลอดชีวิต อีกทั้งมีเมตตา มหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง นำมาซึ่งโภคทรัพย์


นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูพาลวินาศสันติ

นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ โมกาโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธกาโร กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธา กาโร ศรีศากกะยะมุนี โคตะโม ยะกันเน ยะกาโร อะริยะ เมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง

พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มะหาปัญโญ สังฆะบูชา มะหาโภคะวะโห อะระหังพุทโธ อิติปิโสภะคะวา นะมามิหัง



คาถาหลวงปู่ทวด (วัดช้างให้ ตำบลป่าไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี)

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา


(๓ จบ)

คาถาท้าวเวสสุวรรณ (จุดธูป ๙ ดอก)

อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ


คาถาบูชาพระแก้วมรกตหรือคาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

คาถาบูชาพระแก้วมรกต หรือ คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
(ประวัติพระแก้วมรกต เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ของไทย) ซึ่งจะใช้ คาถาบูชาพระแก้วมรกต เวลาสวดมนต์ กราบไหว้บูชาพระ ให้ระลึกถึงองค์พระแก้วมรกต


นะโม 3 จบ ก่อนแล้วกล่าวว่าคาถาบูชาพระแก้วมรกต


พุทธะ มะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ

จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม

นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ (หรือเป็น วาละลุกัง สังวาตังวา)

ตั้งใจอธิษฐานจิต ปรารถนาสิ่งใดจะได้ตามใจสมประสงค์

วิธีบูชาพระไพรีพินาศให้เกิดผล

พระไพรีพินาศนั้นได้ชื่อว่ามีดีทางกำหราบศัตรูทั้งปวงที่คิดร้ายแต่คนที่ใช้อานุภาพต้องบริสุทธิ์คือ


1.อยู่ในศีลธรรมอันดีไม่คิดร้ายคนอื่นไม่มัวเมาด้วยโมหะคิดจะเอาชนะคนอื่นเป็นที่ตั้งไม่คิดร้ายต่อผู้คิด ร้ายหรือใส่ร้ายตน

2. ไม่ตอบโต้ด้วย กาย วาจา และใจคงมั่นนความสุจริตเป็นที่ตั้งแม้จะถูกรบกวนหรือให้ร้ายก็ยึดมั่นในอุเบกขา และสันติธรรม



เมื่อมีเหตุผลเช่นนี้แล้วจึงจะอาศัยเป็นผลขอรองรับบารมีจากพระพุทธไพรีพินาศได้อย่างเต็มที่ การรับบารมีทำได้ดังนี้

-เขียนชื่อศัตรูที่มุ่งร้ายตนและนามสกุลตั้งจิตอธิษฐานต่อพระพุทธไพรีพินาศที่มีอยู่กับตัวว่าขอบารมีกำหร าบศัตรูให้แพ้ภัยตัวเองไป

-พับกระดาษที่มีชื่อของศัตรูให้เป็นแผ่นแล้วเอาพระพุทธไพรีพินาศวางทับลงไป

-เมื่อสวดมนต์ไหว้พระแล้วให้แผ่เมตตาไปยังคนผู้นั้นอย่าให้ขาดขอให้เขามีสติระลึกถึงกรรมและเลิกรังควาญรั งแก

-เมื่อผู้คิดร้ายสำนึกได้หรือมีอันเป็นไปแล้วเอาชื่อออกและแผ่เมตตาให้ถือว่าเขาได้รับกรรมแล้วเป็นอันสิ้ นสุดกรรม


ข้อพึงระวัง

-ถ้าตนเองคิดร้ายต่อต้านโต้ตอบเขาวันใดผลร้ายนั้นจะย้อนเข้าตัวเองพินาศสิ้นไปด้วยอกุศลกรรม

-ดังนั้นไม่ว่าผู้ใดก็ตามนำเอานามของพระพุทธไพรีพินาศไปตั้งเป็นสิ่งที่คิดทำร้ายผู้อื่นหรือใช้พระพุทธไพ รีพินาศในทางที่ผิดคือสาปแช่งผู้ที่เขาไม่มีความผิดไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กล่าวแล้วจะพึงได้รับผลสะท้อนกลับ แบบมูมเมอแรงถึงกับพินาศไปเองด้วยประการต่าง ๆ

-จึงขอให้ทุกท่านที่จะใช้พระพุทธไพรีพินาศโปรดสังวรไว้ด้วยอย่าทำร้ายตัวเองด้วยพระไพรีพินาศเป็นอันขาด>



พระคาถาบูชาพระไพรีพินาศ

ตั้งนะโม 3 จบ


นะมัสสะ พระพุทธะไพรีพินาศายะ มาราปะราชะยัง นะมามิหัง พุทธังวันทามิ ธัมมังวันทามิ สังฆังวันทามิ สัพพะโส

ขอให้ข้าพเจ้าจงประสพแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยบารมีของพระพุทธไพรีพินาศเทอญ


อ่านกระทู้นี้ตั้งแต่แรกนึกอยากได้พระไพรีพินาศมาก แต่จำได้ว่าเคยได้มาแล้วไม่แน่ใจเอาไว้ที่บ้านไหน ผ่านไปหลายวันก็เจออยู่ที่บ้านนี้แต่อยู่ตรงข้างล่าง ได้มาสองตลับปี 30 พี่สาวบอกว่าองค์นึงเลี่ยมแล้วให้น้องสาวไปแล้วเพราะเขาต้องทำงานในประเทศที่มีสงครามประจำจะได้มีป้องกันตัว ก็เลยเหลือองค์เดียว เราเองกลัวจะหายเพราะด้านล่างเป็นร้านค้าก็้เลยเก็บมาใส่พานเอาไว้

ผ่านไปไม่กี่วันขโมยขึ้นบ้าน จริงๆ มันควรจะไม่ได้อะไรเลยเพราะทรัพย์สินอยู่ในห้องนอนของทุกคนในบ้าน มันเข้ามาในตัวบ้านแล้วลงไปค้นของชั้นล่างที่เป็นร้าน แต่วันนั้นพี่สาวดันลืมกระเป๋าไว้แล้วบอกพี่เขยให้ลงไปเอาถึงสามหนแต่เขาก็ไม่ได้เอาขึ้นมาให้มันก็เลยได้เงินไป 4-5 พันบาท แต่บัตรเครดิตไม่ได้แตะเอาไปสักใบ น่าจะเป็นพวกต่างด้าว เพราะแถวนี้มีแต่ต่างด้าวทั้งนั้น

บ้านหลังอื่นๆ เคยโดนงัดได้ไปเป็นแสน วันที่เราโดนก็ไปงัดตั้งสี่หลัง แต่ได้นิดเดียวเพราะคนรู้แกวไม่เก็บเงินไว้เยอะแล้ว ของเรามีเศษสตางค์ใส่ไว้ในลิ้นชักแลกไว้เยอะๆ ค่อยแบ่งเอามาใส่กระเป๋าเก็บเงิน รวมแล้วหลายร้อยบาทมันก็รวมๆ ใส่ถุงไว้แต่ไม่ทันได้ไปคงไปเจอกระเป๋าพี่สาวก็เอาแบงค์ใหญ่ไปดีกว่า ก็ได้แค่นั้น

ไม่รู้ว่าพระย้ายมาอยู่ห้องเราหรือเปล่า เราเลยไม่โดนอะไร เพราะมันคงรอมาตั้งแต่ห้าทุ่ม รอไม่ไหวไปงัดบ้านอื่นก่อน เรากว่าจะนอนก็เกือบตีสามแล้ว ดีที่ไม่ออกไปเจอมัน