วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 25, 2555

ผ่านมาให้แค่จำ



ไม่สำคัญว่าฉัน จะรักสักเท่าไหร่

บอกตัวเองว่าต้องข่มใจ ไม่อ่อนไหวเหมือนเคย

เมื่อวันนี้ก็รู้ ว่าไม่มีเส้นทางต่อไป

สุดท้ายแค่นี้ความรัก ไม่ว่าฉันคิดไกลแค่ไหน


คนบางคนผ่านมาให้รักไม่ได้เกิดมาเพื่อคู่กัน

ทำได้แค่นี้เรื่องเธอกับฉันท่องไว้

คนบางคนผ่านมาแค่เขียนภาพเพื่อให้จดจำเอาไว้

แค่นี้ก็ดีมากแล้ว ได้มีความทรงจำที่แม้จะเจ็บก็สวยงาม


ขอบคุณนะที่ได้ผ่านมาในชีวิตครั้งหนึ่ง

ไม่มีวันจะไม่คิดถึงว่าเคยได้ยืนใกล้

ท่วงทำนองความรักแม้ไม่เคยได้เป็นอย่างใจ

ปล่อยให้มันบรรเลงอย่างนั้น

แม้สุดท้ายน้ำตายังต้องไหล


คนบางคนผ่านมาให้รักไม่ได้เกิดมาเพื่อคู่กัน

ทำได้แค่นี้เรื่องเธอกับฉันท่องไว้

คนบางคนผ่านมาแค่เขียนภาพเพื่อให้จดจำเอาไว้

แค่นี้ก็ดีมากแล้ว ได้มีความทรงจำที่แม้จะเจ็บก็สวยงาม


คนบางคนผ่านมาให้รักไม่ได้เกิดมาเพื่อคู่กัน

ทำได้แค่นี้เรื่องเธอกับฉันท่องไว้

คนบางคนผ่านมาแค่เขียนภาพเพื่อให้จดจำเอาไว้

แค่นี้ก็ดีมากแล้ว ได้มีความทรงจำที่แม้จะเจ็บก็สวยงาม

ได้มีความทรงจำที่แม้จะเจ็บก็สวยงาม



วันอังคาร, ตุลาคม 16, 2555

เค้กเนยสด : Butter Cake





ส่วนผสม สำหรับพิมพ์โลฟขนาด 10x 20x 7 ซม.

  • แป้งเค้ก 120 กรัม
  • ผงฟู 1 ชช.
  • เกลือป่น 1/4 ชช.
  • เนยสด 100 กรัม
  • น้ำตาลทราย 100 กรัม
  • ไข่ไก่ขนาดกลาง 2 ฟอง
  • นมสด 50 กรัม
  • วานิลาบัทเทอร์ 1/2 ชช. (ถ้าไม่มีใช้วานิลาเอ๊กซ์แทร็คหรือกลิ่นวานิลาธรรมดาแทนก็ได้ค่ะ)
วิธีทำ นำพิมพ์เค้กมาทาเนยและโรยแป้งบางให้ทั่วพิมพ์หรือใครจะตัดกระดาษไขปูพิมพ์แทนการทาเนยก็ได้ จัดการอุ่นเตาอบ ไว้ที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียสด้วย


ร่อนแป้งรวมกับผงฟูและเกลือ 2 รอบ แล้วพักไว้ก่อน




นำเนยนุ่มๆ มาหั่นเป็นเต๋าเล็กๆ ใส่อ่างผสม



ตีเนยด้วยความเร็วต่ำจนเนยเนียนดี



ค่อยๆ ใส่น้ำตาลลงไปตีรวมกับเนยทีละนิดจนน้ำตาลหมดค่ะ




เปลี่ยนเป็นความเร็วสูง ตีไปเรื่อยๆ จนเนยกลายเป็นครีมฟูเบาสีขาวนวล ใช้เวลาตีประมาณ 5-6 นาที
 

ใช้ไม้พายปาดรอบขอบอ่างแล้วตอกไข่ใส่ลงไป 1 ฟอง ตีต่อด้วยความเร็วกลางจนไข่กับเนยเข้ากันดี ใช้เวลาตีประมาณ 1 นาที


เมื่อเข้ากันดีแล้วก็ตอกไข่อีกฟองใส่ลงตีให้เข้ากันดีอีกครั้ง ส่วนผสมจะมีลักษณะเป็นครีมเนียนเนยกับไข่ไม่แยกตัวกันค่ะ อย่าลืมปาดขอบอ่างด้วย เสร็จแล้วก็ใส่วานิลาลงไปตีให้เข้ากัน




จากนั้นแบ่งประมาณ 1/4 ของส่วนผสมแป้งลงไปตีด้วยความเร็วต่ำสุดรวมกับส่วนผสมเนยแค่พอเข้ากัน


ใส่ 1/3 ของนมลงไปตีรวมกัน ทำสลับกันอย่างนี้จนส่วนผสมหมด (รวมแล้วแบ่งแป้งเป็น 4 ส่วน นม 3 ส่วน ***เริ่มด้วยแป้งจบด้วยแป้ง***) ย้ำว่าต้องตีด้วยความเร็วต่ำสุด (หรือใช้ตะกร้อมือหรือไม้พายคน) ใช้เวลาตีแป๊บเดียว เอาแค่พอเข้ากันกับส่วนผสมอื่นก็พอ ไม่งั้นน้องเค้กจะทั้งหนักทั้งแน่น


ผสมเสร็จแล้วหน้าตาจะเป็นอย่างนี้ เนื้อแป้งเนียนดีไม่เหลวหรือข้นมากเกินไป นำส่วนผสมไปเทใส่พิมพ์แล้วเกลี่ยให้เรียบเสมอกัน
 
นำไปวางบนชั้นกลางของเตาอ ลดไฟเหลือ 160 องศาเซลเซียส อบไฟล่างอย่างเดียวประมาณ 40 นาที แล้วอบไฟบน-ล่างต่ออีกประมาณ 10-15 นาที หรือจนกว่าเค้กจะสุกค่ะ ทดสอบว่าเค้กสุกหรือยังโดยการนำไม้จิ้มฟันทิ่มตรงกลางเค้ก หากไม่มีแป้งติดไม้มาแสดงว่าเค้กสุกแล้วค่ะ (วันนี้เราอบไฟบน-ล่างตลอดเวลาของการอบเลย พอดีลืมปิดไฟบนในช่วงแรก เค้กก็เลยหน้าแตกอย่างที่เห็น)

เมื่อเค้กสุกแล้วก็นำออกจากเตาอบ วางพิมพ์ไว้บนตะแกรง พักเค้กให้อุ่นในพิมพ์ประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงเคาะออกจากพิมพ์ พักเค้กไว้บนตะแกรงทิ้งไว้จนเย็นสนิทแล้วพันพลาสติกให้รอบเค้ก หุ้มด้วยกระดาษฟลอยด์อีกทีแล้วนำเข้าตู้เย็น ทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้เนื้อเค้กชุ่มเนยมากขึ้นแล้วค่อยนำออกมาตัดแบ่งกันทาน ตัดเค้กตอนที่ยังเย็นๆ อยู่จะทำให้ตัดได้เนื้อเค้กที่เรียบสวย แต่ตัดแล้วอย่าเพิ่งทานเลยทิ้งไว้ให้คลายความเย็นประมาณ 20 นาทีแล้วค่อยทานเนื้อเค้กจะนุ่มขึ้น

 

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เบเกอรี่


1. แป้งสาลี

แป้งสาลีเป็นแป้งที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ จะมีโปรตีนอยู่ 2 ชนิดเป็นองค์ประกอบ คือ กลูเตนินและไกลอะดิน (Glutenin & Gliadin) ซึ่งเมื่อรวมตัวกับน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะเกิดสารเรียกว่า กลูเต็น (Gluten) มีลักษณะเป็นยางเหนียวยืดหยุ่นได้สามารถเก็บก๊าซทำให้เกิดโครงร่างแบบฟองน้ำ
ข้าวสาลีที่นำมาโม่เป็นแป้งมี 2 ชนิด คือข้าวสาลีชนิดแข็ง (Hard wheat) และข้าวสาลีชนิดอ่อน (Sofe wheat)
องค์ประกอบของแป้งสาลี
  • แป้ง (Starch) 70 %
  • โปรตีน 11–13 %
  • ความชื้น 12–14 %
  • ไขมัน 1–2 %
  • น้ำตาล 1 %
  • เถ้า 0.5 %
  • อื่นๆ 1–2 %
แป้งสาลีที่ผลิตออกขายตามท้องตลาดมีอยู่ 3 ชนิด คือ
  1. แป้งขนมปังมีโปรตีนสูง 12 – 14 % เหมาะสำหรับทำขนมปังทั่ว ๆ ไป
  2. แป้งอเนกประสงค์ มีโปรตีนปานกลาง 10 – 11 % เหมาะสำหรับทำเพสตรี้, คุกกี้, บะหมี่, ปาท่องโก๋
  3. แป้งเค้ก มีโปรตีนต่ำ 7 – 9 % เหมาะสำหรับทำเค้ก

2. น้ำ

น้ำจัดเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญอีกตัวหนึ่งรวมหมายถึง น้ำในน้ำนม, หรือน้ำผลไม้ จะเป็นตัวทำหน้าที่รวมตัวกับโปรตีนในแป้งเพื่อให้เกิดกลูเต็น
น้ำ แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด คือ น้ำอ่อน, น้ำกระด้าง, น้ำด่าง, น้ำที่เป็นกรด, น้ำเกลือ และน้ำที่มีสารแขวนลอย

หน้าที่ของน้ำ

  1. ช่วยทำให้เกิดกลูเต็น
  2. เป็นตัวละลายส่วนผสมอื่น ๆ เช่น น้ำตาล, เกลือ
  3. ควบคุมอุณหภูมิของโด ควบคุมความหนืดของโด
  4. น้ำทำให้แป้ง (Starch) เปียก และการเกิดพองตัว ทำให้เอ็นไซม์ทำงานได้ดี
  5. ช่วยทำให้เก็บผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น

3. น้ำตาล

น้ำตาลจัดเป็นคาร์โบไฮเดรทชนิดหนึ่ง ในที่นี้หมายถึงน้ำตาลซูโครส มีหลายชนิดคือ
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar)
  • น้ำตาลทรายแดง (Brawn Sugar)
  • น้ำตาลทรายดิบ (Raw Sugar)
  • น้ำตาลไอซิ่ง (Icing Sugar)
  • น้ำเชื่อม / แบะแซ (Corn or Dextrose Sugar)

หน้าที่ของน้ำตาลที่มีต่อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่

  • ให้ความหวานแก่ผลิตภัณฑ์และกลิ่นรส
  • เป็นอาหารของยีสต์ในระหว่างการหมัก
  • ถูกย่อยด้วยเอ็นไซม์เป็นโมเลกุลน้ำตาลขนาดเล็ก
  • ช่วยในการตีครีมและตีไข่ให้มีความคงตัว
  • ทำให้สีผิวของขนมสวยขึ้น
  • เพิ่มคุณค่าทางอาหาร

4. ไขมัน

น้ำมันและไขมันประกอบด้วยกรดไขมันกักลีบเชอรอล ซึ่งจะแตกต่างกันที่ชนิดของกรด ไขมันที่เป็นองค์ประกอบ
  • น้ำมัน หมายถึง องค์ประกอบที่มีสภาพเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
  • ไขมัน หมายถึง องค์ประกอบที่มีสภาพเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
ไขมันที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ ได้มาจากทั้งพืชและสัตว์ เช่น
  • จากสัตว์ - ไขมันเนย (จากนม), ไขมันหมู, ไขมันปลา
  • จากพืช - น้ำมันมะพร้าว, ปาร์ม, จากเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ฝ้าย, งา, ถั่วต่างๆ

ชนิดของไขมันที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ มี

  • เนย (Butter)
  • น้ำมันพืช (Vegetable Oil)
  • ไขมันพืช/สัตว์ (Vegetable/Animal shortening)
  • มาร์การีน (Margarine)
  • โกโก้บัตเตอร์ (Cocoa butter)

หน้าที่ของไขมันในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แต่ละชนิด

1. สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยีสต์ เช่น ขนมปัง
  • ให้ความอ่อนนุ่ม และกลิ่นรส
  • ช่วยกักเก็บก๊าซที่เกิดขึ้น ป้องกันอากาศภายนอก
  • ช่วยหล่อลื่นกลูเต็น ทำให้เพิ่มปริมาตร
2. สำหรับเค้ก
  • จะเป็นตัวจับอากาศ ระหว่างการตีครีมกับน้ำตาล
  • ไขมันที่มีอิมัลซิไฟเออร์ จะช่วยทำให้น้ำและไขมันในส่วนผสมรวมตัวกันได้ดี โดยเฉพาะไฮเรโชเค้ก
  • ช่วยให้เกิดกลิ่นรส และความนุ่ม
  • ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น
3. สำหรับคุกกี้และแป้งพาย
  • ทำให้เกิดความคงตัว
  • ทำให้มีลักษณะโครงสร้างเฉพาะ

5. ไข่

ในการทำผลิตภัณฑ์เบเกอรรี่ส่วนมากจะใช้ไข่ไก่ สำหรับบ้านเรานั้นใช้ในรูปของไข่สด
องค์ประกอบของไข่ (%)
ไข่ทั้งฟองไข่แดงไข่ขาว
ความชื้น73.650.086.0
โปรตีน14.017.010.0
ไขมัน12.031.00.2
น้ำตาล00.20.4
เถ้า1.01.51.0

หน้าที่ของไข่

  1. เป็นตัวทำให้ผลิตภัณฑ์ขึ้นฟู
  2. สี จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีเข้มขึ้น
  3. เพิ่มคุณค่าทางอาหาร
  4. เพิ่มกลิ่นรสและความเข้มค้น

6. เกลือ

เกลือที่ใช้ในเบเกอรี่ทั่ว ๆ ไป หมายถึง โซเดียมคลอไรด์

หน้าที่ของเกลือ

  1. ช่วยเพิ่มรสชาติ
  2. ช่วยควบคุมการทำงานของยีสต์ในการหมัก
  3. ช่วยทำให้กลูเต็นของโดมีกำลังในการยืดตัว
  4. ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของบักเตรีที่ไม่ต้องการ

7. สิ่งที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ขึ้นฟู

เพื่อช่วยให้ผลตภัณฑ์มีความฟู เบา นั้นพอแบ่งออกได้คือ
  1. การขึ้นฟูด้วยาอากาศ เช่น การร่อนแป้ง การตีเนยกับน้ำตาล การตีไข่
  2. การขึ้นฟูด้วยไอน้ำ เกิดจากน้ำในส่วนผสมขยายตัวเป็นไอน้ำขณะอบ เช่น การพองตัว ของครีมพัฟ, พัฟเพสตรี้
  3. การขึ้นฟูด้วยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ แบ่งออกได้คือ
    1. เกิดจากขบวนการทางชีวเคมี
    2. เกิดจากขบวนการทางเคมี ได้แก่ ผงฟู ผงโซดา แอมโมเนีย เป็นต้น

ยีสต์

เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อหรือแบ่งตัว อาหารที่จำเป็น คือ น้ำตาลอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต 70 – 95 ฟ.
ยีสต์มี 3 ชนิด คือ ยีสต์สด, ยีสต์แห้งเม็ด และยีสต์แห้งผง
อัตราเปรียบเทียบปริมาณการใช้ยีสต์ทั้ง 3 ชนิดคือ 5:2:1

หน้าที่

  1. สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้โดขยายตัว
  2. ทำให้เกิดโครงสร้างและลักษณะของเนื้อของโด
  3. ทำให้ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นรสเฉพาะตัว
  4. ช่วยเริมคุณค่าทางอาหาร
วิธีทดสอบคุณภาพของยีสต์ ใส่ยีสต์ 1 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำอุ่น 1 ช้อนโต๊ะคนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ ถ้าเกิดฟองปุดขึ้นที่ผิวหน้าภายใน 5 – 10 นาที แสดงว่ายีสต์นั้นยังไม่เสื่อมคุณภาพ

เบคกิ้งโซดา

ทางเคมีเรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้าง ซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อให้สารตกค้างหมดไป สามารถปรับได้โดยการเติมกรดอาหารลงไป เช่น นมเปรี้ยว

ผงฟู

เป็นสารที่ช่วยทำให้ขึ้นฟู เป็นส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนต กับสารเคมีที่ทำหน้าที่เป็นกรดและแป้งข้าวโพด เพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้ง 2 สัมผัสกันโดยตรง มี 2 ชนิดคือ ผงฟูกำลังหนึ่ง กับผงฟูกำลังสอง
วิธีทดสอบ ใส่ผงฟู 1 ช้อนชา ลงในน้ำร้อนถ้ามีฟองอากาศปุดขึ้นมาอย่างเร็วค่อย ๆ ช้าลงจนหมดแสดงว่าผงฟูนั้นยังมีคุณภาพดีอยู่

แอมโมเนีย

ได้แก่ พวกแอมโมเนียมคาร์บอเนต หรือไบคาร์บอเนต ใช้กันน้อย นิยมใช้ในการทำคุกกี้ ปาท่องโก๋ และครีมพัฟ

8. นม

นมเป็นสารละลายที่ให้คุณค่าทางอาหารและกลิ่นรสเฉพาะตัว ที่ใช้ในเบเกอรี่มี 3 ชนิดคือ นมสด, นมข้น, นมผง
องค์ประกอบของนมชนิดต่าง ๆ มีดังนี้
ชนิด% น้ำ % บัตเตอร์แฟต % โปรตีน% น้ำตาลแลคโตส% แร่ธาตุ% น้ำตาลทราย
นมสดบริสุทธิ์ 883.53.254.50.75-
นมข้นจืด7287.2510.51.75-
นมข้นหวาน3187.7510.51.7541
นมผงมีไขมัน1.527.527.038.06.0-
นมผงไม่มีไขมัน2.51.536.051.58.0-

หน้าที่ของนม

  1. เพิ่มคุณค่าทางอาหาร และน่ารับประทาน
  2. ช่วยให้สีสันเข้มขึ้น
  3. เป็นตัวทำละลายให้ส่วนผสมเข้ากันและเกิดโครงสร้าง

9. สารเสริมคุณภาพ

สารเสริมคุณภาพ หมายถึงสารผสมที่มีลักษณะเป็นผงประกอบด้วยสารที่ทำให้กลูเต็นอ่อนตัวตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป ซึ่งสารนี้จะช่วยเปลี่ยนคุณสมบัติของก้อนแป้งทำให้ได้ขนมปังที่ดีขึ้น สารเสริมพวกนี้แตกต่างไปจากส่วนผสมจำพวก น้ำตาล ไขมันหรือไข่
สารเสริมคุณภาพนี้ใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเล็กน้อยเท่านั้นก็ได้ผลดี ดังนั้นเพื่อให้การชั่งตวงสารเหล่านี้ทำได้ง่ายขึ้น จึงมักผสมสารดังกล่าวกับส่วนผสมที่ไม่ไวต่อปฏิกิริยาสารนี้มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยมีชื่อการค้าต่าง ๆ กัน
สารที่ใช้ในการทำให้ส่วนผสมที่ทำงานได้รวดเร็วให้เจือจางลงนี้ก็มีผลต่อคุณภาพของขนมปังเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผงมอลท์ หรือแป้งมอลท์ ซึ่งใช้ป็นตัวทำเจือจางตัวหนึ่ง มีปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ในตัวมันเอง
ช่างทำขนมต้องอาศัยสารเสริมคุณภาพมากในการควบคุมคุณภาพของขนมปัง สารเสริมคุณภาพบางชนิดอาจเติมมาแล้วในแป้งขณะที่โม่ ซึ่งทางโรงงานควรแจ้งให้ช่างทำขนมทราบ เพื่อไม่ให้เกิดการเติมสารคุณภาพมากเกินไปซึ่งจะทำให้ได้ขนมปังที่ไม่ดี
สารเสริมคุณภาพที่นิยมใช้กันเป็นสารช่วยเร่งการสุกตัวของแป้ง การทำขนมปังด้วยวิธีการหมักแบบดั่งเดิม ปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนในก้อนแป้งมีเพียงจำกัด ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของแป้ง
การทำขนมปังโดยวิธีสมัยใหม่ อย่างเช่นการทำขนมปังแบบทุ่นเวลา ซึ่งตัดช่วงการหมักแป้งออก ต้องการปริมาณของสารเติมออกซิเจนในแป้งสูงกว่าการทำขนมปังแบบที่เคยทำกันมา

ส่วนประกอบและหน้าที่ของสารแต่ล่ะชนิดในสารเสริมคุณภาพ

ส่วนประกอบที่สำคัญ และหน้าที่ของสารเสริมคุณภาพมีดังนี้
หน้าที่ส่วนประกอบ
ช่วยทำให้กลูเต็นเหนียวขึ้น- โปแตสเซียม โบรเมท
- กรดแอสคอร์บิค
ช่วยทำให้กลูเต็นอ่อนตวลง- แอล – ชีสเตอิน (ไฮโดรคลอไรด์)
- โซเดียม เมต้า- ไบซัลไฟท์
อาหารของยีสต์- แอมโมเนียมคลอไรด์ (หรือแอมโมเนียมซัลเฟต)
- ฟอสเฟต
- สารประกอบของแคลเซียม
แหล่งของเอ็นไซม์- อะมิเลส (ทำปฏิกิริยากับแป้ง)
- โปรดีเอส (ทำปฏิกิริยากับกลูเต็น)
เอ็นไซม์ทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถสกัดได้จากข้าวมอลท์ หรือจากเชื้อรา
สารอื่นซึ่งอาจเติมลงไปในส่วนประกอบข้างต้นหรือเป็นส่วนผสมพิเศษ เติมแยกต่างหากลงไปในก้อนแป้ง มีดังนี้คือ
แป้งถั่วเหลืองชนิดที่มีเอ็นไซม์ประกอบด้วยเอ็นไซม์หลายตัว ซึ่งช่วยให้กลูเต็นอ่อนตัว และช่วยให้เนื้อขนมปังขาวขึ้น อิมัลซิไฟเออร์ ช่วยให้เนื้อขนมปังนุ่มขึ้น และช่วยให้อยู่ในสภาพที่สดใสได้นานขึ้น
การใช้สารเสริมคุณภาพที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้ขนมปังมีคุณภาพที่ดีขึ้น แต่หากใช้สารเสริมคุณภาพที่ไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเติมที่จากทั้งส่วนผสมและเครื่องจักร และในบางกรณีการใช้สารเสริมคุณภาพที่ไม่ถูกต้องอาจถึงกับทำให้ได้ขนมปังที่มีคุณภาพที่ขายไม่ได้

10. วัตถุกันเสีย (Preservatives)

การใช้วัตถุกันเสียใส่ลงในอาหารเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากการเน่าเสียของอาหารส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุมาจากพวกจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับอาหาร และโดยที่อาหารนั้นเป็นอาหารตามธรรมชาติของพวกจุลินทรีย์อยู่แล้ว โดยเฉพาะ พวกที่มีความชื้นและความเป็นกรด- ด่าง ที่พอเหมาะ ฉะนั้นการเติมวัตถุกันเสียลงไปก็เพื่อเป็นตัวช่วยในการชงักหรือทำลายจุลินทรีย์เหล่านี้
วัตถุกันเสียนั้นเป็นสารประกอบเคมี ที่ใช้เติมลงไปในอาหารเพื่อชลอการเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บของอาหาร หรืออีกในหนึ่งก็คือ เพื่อยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารหรือวัตถุดิบนั้นเน่าเสีย ซึ่งสารบางชนิดจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างละเอียด พร้อมทั้งปริมาณการใช้ที่เหมาะสมและจัดเป็นอาหารที่ควบคุมชนิดหนึ่ง
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันบ่อย ๆ พอเป็นสังเขปดังนี้
1. เบนโซเอท (Benzoic acid และ Benzoates) นิยมใช้ในรูปของเกลือโซเดียม ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรด เช่น น้ำหวาน, น้ำผลไม้, แยม, น้ำสลัด, ผักดอง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%
2. ซอเบท (Sorbic acid และ Sorbates) เป็นสารกันบูดที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรดเช่นกัน ดังนั้นกลุ่มที่ใช้จึงใกล้เคียงกัน รวมทั้งพวกไส้ขนมต่าง ๆ ในการทำขนมขายส่ง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%
3. โปรปิโอเนท (Propionic acid และ propionices) มีความสามารถในการทำลายแบคทีเรียและราได้ดีกว่ายีสต์ นิยมใช้สารนี้ในผลิตภัณฑ์ขนมปัง, เค้ก, นิยมใช้แคลเซียมโปรปิโอเนทกับขนมปังมากกว่า เพราะเกลือแคลเซียม จะช่วยเป็นตัวปรับสภาพของก้อนโด ได้ด้วยส่วนเกลือโซเดียมและโปแตสเซียม นิยมใช้กับเค้ก ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย 0.1- 0.2%
 
 
ข้อมูลจากหนังสือ การบริหาธุรกิจเบเกอรี่ (Bakery Management '94) โดย บริษัท ทรีท็อป เคมีคัลแอนด์ฟูดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท อุตสาหกรรมแป้งข้าวสาลีไทย จำกัด  และ http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=354699359358242903#editor/target=post;postID=7422213645363751979

วันจันทร์, ตุลาคม 08, 2555

คุ๊กกี้คอร์นเฟล็ก-ข้าวโอ๊ต-ลูกเกด




ส่วนผสม สำหรับคุ๊กกี้ประมาณ 40-43 ชิ้น
  • คอร์นเฟล็ก 80 กรัม
  • ข้าวโอ๊ต 40 กรัม
  • ลูกเกด, หั่นหยาบ 40 กรัม
  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ, สับหยาบ 60 กรัม
  • ไข่ไก่ขนาดกลาง 1 ฟอง
  • เนยแช่เย็น 120 กรัม
  • แป้งเอนกประสงค์ 160 กรัม
  • ผงฟู 1/2 ชช.
  • เบกกิ้งโซดา 1/2 ชช.
  • เกลือ 1/8 ชช.
  • น้ำตาลทรายแดง 100 กรัม
  • น้ำตาลวานิลลา 1 ซอง (8 กรัม) หรือ กลิ่นวานิลา 1 ชช.
วิธีทำ


 
เมื่อเตรียมของเรียบร้อยแล้วก็เตรียมถาดอบ ปูกระดาษไขรองให้เรียบร้อย แล้วอุ่นเตาอบไว้ ถ้าใครใช้เตาอบลมร้อนก็ใช้ไฟ 160 องศาเซลเซียส หากใช้ไฟบน-ล่าง ธรรมดาก็ใช้ไฟ 180 องศาเซลเซียส แต่อบคุ๊กกี้เนี่ยใช้ลมร้อนอบจะกรอบกว่าอบไฟธรรมดานะคะร่อนแป้ง ผงฟู เบกกิ้งโซดา และเกลือรวมกัน
จากนั้นก็ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์สับ ข้าวโอ๊ต และลูกเกดลงไปผสม คนให้เข้ากัน พักไว้ก่อน
แล้วไปจัดการผสมน้ำตาลทรายแดงกับน้ำตาลวานิลาเข้าด้วยกัน ส่วนเนยก็หั่นเป็นลูกเต๋าเล็กๆ

นำเนยใส่อ่างผสม ตีด้วยความเร็วกลางให้เนียน
แล้วค่อยๆ ใส่น้ำตาลลงไปตีรวมกันจนน้ำตาลหมด
แล้วจึงใส่ไข่ลงไปตีให้เข้ากับเนย จากนั้นเปลี่ยนเป็นความเร็วต่ำสุด
ใส่ส่วนผสมแป้งลงไปตีแค่พอเข้ากัน
สุดท้ายใส่คอนเฟล็กส์ใช้ไม้พายคน 3-4 ครั้งพอเข้ากันก็หยุดคน
 
ใช้ที่ตักไอศครีมหรือช้อนชาสองคันช่วยทำเป็นก้อนกลมขนาดเท่าลูกวอลนัท
วางเรียงบนถาดอบที่ปูกระดาษไขไว้ แล้วกดให้แบนหน่อย นำเข้าอบประมาณ 16-18 นาที
พอสุกแล้วนำออกมาวางบนตะแกรงให้เย็นอุณหภูมิห้องก่อนรับประทานหรือเก็บในขวดโหล

คุ๊กกี้เนยรวมมิตร

- แป้งอเนกประสงค์ 240 กรัม
- ผงฟู 1 ชช.
- เกลือป่น 1/2 ชช. กับอีก 1/8 ชช.
- เนยสด (จืด) 180 กรัม
- เนยขาว 20 กรัม
- น้ำตาลทรายขาวเม็ดเล็ก 1/2 ถ้วย
- น้ำตาลทรายป่นละเอียด 1/4 ถ้วย ..... (ถ้าใช้น้ำตาลทรายป่นละเอียดอย่างเดียว
แต่ใส่ไป 3/4 ถ้วย ปรากฎว่าผลก็ไม่แตกต่างจากใส่น้ำตาล 2 อย่าง)
- กลิ่นวนิลา 1 ชช.
- เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบให้สุกแล้วสับหยาบมากๆ 80 กรัม
- ลูกเกดสีดำเม็ดใหญ่ หั่นครึ่งเม็ด 70 กรัม
- ช๊อคโกแลตชิพเกรดดี 60 กรัม

http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-14.JPG
 
:: วิธีทำ ::
 
เริ่มต้นเลยก็ให้เทแป้งอเนกประสงค์ ผงฟู กับเกลือป่น ที่เราชั่งตวงไว้แล้ว ลงในกาละมังใบย่อม ๆ สักใบนะคะ
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-19.JPG
 
จัดการคนให้เข้ากันด้วยพายยางสักนิดนึง เพื่อให้ผงฟูและเกลือกระจายไปทั่ว ๆ ...... แล้วก็เอาไปร่อนรวมกันสัก 1 รอบ ก็จะได้ออกมาตามในภาพด้านล่าง ..... ถึงตรงนี้ก็พักไว้ก่อน ^^
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-20.jpg
 
ต่อมา ... ก็มาดูเนยกันนะคะ สำหรับเนยเนี่ย เจ้าของสูตรเค้าใช้เนยถังทองค่ะ พิมเองเวลาทำกินก็ใช้ถังทองเหมือนกัน เพราะว่ามันจะหอมกว่าใช้เนยปกติมากๆ เลยค่ะ แต่อย่างที่บอกหากทำขายแล้วใช้เนยถังทอง คงจะขายลำบากแน่ ๆ เพราะต้นทุนมันสูง เพราะงั้นวันนี้พิมเลยขอใช้เนยธรรมดานะคะ
สำหรับเนยสดเนี่ย .... พิมเอาออกมาจากตู้เย็น ชั่งน้ำหนักให้เรียบร้อย แล้วก็หั่นเป็นก้อนเล็ก ๆ เอาไว้ค่ะ จะได้นิ่มไว ๆ / ส่วนเนยขาว ก็แค่ชั่งไว้เฉย ๆ ไม่ต้องหั่นนะคะ ^^
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-16.JPG
 
ต่อมาก็มาเตรียมน้ำตาลที่เราจะใช้กันค่ะ ..... ซึ่งคุ๊กกี้เนยช๊อคชิพสูตรนี้เนี่ย ใช้น้ำตาลทรายขาวเพียงอย่างเดียวนะคะ ตามในสูตรของพี่ตรีเนี่ยให้ใช้ทั้งแบบเม็ดเล็กและป่นละเอียดรวมกัน แต่เท่าที่พิมเคยใช้แบบป่นละเอียดอย่างเดียว ผลที่ได้ออกมาก็ไม่แตกต่างจากแบบใช้สองอย่างนะคะ (หรืออาจจะเพราะพิมไม่ค่อยรู้สึกก็เป็นได้) .... แต่มาทำให้เพื่อน ๆ ดูวันนี้ ก็ขอทำตามต้นฉบับล่ะกันอ่ะค่ะ ^^
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-15.JPG
 
ส่วนอันนี้ก็เป็นลูกเกิด .... เอ๊ยยยย ลูกเกดดำ กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์นะคะ
สำหรับเม็ดมะม่วงเนี่ย พิมนิยมซื้อแบบเต็มเม็ด (โลละ 280-) กับแบบซีก (โลละ 250-) มาอบให้สุก แล้วสับหยาบ ๆ เองค่ะ .... จะไม่นิยมซื้อแบบที่เป็นเศษคล้ายสับหยาบเอาไว้แล้ว เพราะรู้สึกโดยส่วนตัวว่ามันน่าจะดีกว่า อีกทั้งราคาก็ไม่ได้แตกต่างกันมากมายเลยค่ะ (แบบป่นหยาบ ๆ โลละ 230-) ..... ส่วนลูกเกด อันนี้แค่เอามาหั่นครึ่งเม็ดก็พอ ไม่ต้องอบนะคะ ^^"
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-17.JPG
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-24.jpg
 
ส่วนอันนี้ก็ช๊อคโกแลตชิพนะคะ .... พิมเลือกใช้อย่างดีหน่อยทั้งทำกินและทำขาย เพราะเท่าที่เคยลองใช้ แบบอย่างดีหน่อย จะหอมหวาน รสชาตินุ่มนวลกว่าแบบเกรดต่ำเยอะเลยอ่ะค่ะ
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-18.JPG
 
เมื่อเตรียมวัตถุดิบต่างๆ ชั่งตวงร่อนไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาลงมือทำก้นเลยค่ะ ... เริ่มต้นด้วยการเอาเนยสด + เนยขาว ใส่ลงในอ่างผสมนะคะ (พิมใช้กาละมังแสตนเลส) แล้วก็ตีเนยด้วยความเร็วปานกลาง จนกระทั่งเนยมีลักษณะคล้ายครีม (เป็นเนื้อเดียวกัน แต่ไม่ต้องให้ฟู)
ป.ล. ก่อนเริ่มต้นผสม ให้วอร์มเตาอบไว้ก่อนที่ความร้อน 175 องศาเซลเซียส ไฟบนล่าง ไม่ต้องเปิดพัดลมนะคะ
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-21.jpg
 
แล้วก็ค่อย ๆ ทยอยใส่น้ำตาลทรายป่น+น้ำตาลทรายเม็ดเล็กลงไป (ใส่อันไหนก่อนหลังได้ค่ะ ไม่มีปัญหา) สลับกับการตี .. และตีจนกระทั่งเป็นครีมฟูขาว (พิมใช้เวลาประมาณ 6 นาที)
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-22.jpg
 
ก็ใส่กลิ่นวนิลาลงไปค่ะ (ใครจะเปลี่ยนเป็นวนิลาบัตเตอร์ก็ได้นะคะ) ตีด้วยความเร็วต่ำให้เข้ากันดี (ใช้เวลาแป๊บเดียว) แล้วก็ใส่แป้งทั้งหมดลงไป ใช้พายยางตะล่อมพอให้แป้งเข้ากับเนย (อย่าคนไปคนมานานๆ จะทำให้คุ๊กกี้เหนียว)
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-23.jpg
 
จากนั้นก็ใส่เม็ดมะม่วงกับลูกเกดที่เราสับหยาบไว้แล้วลงไป .... ใช้พายยางตะล่อมเบา ๆ ให้พอเข้ากันอีกที ก็เป็นอันใช้ได้ล่ะค่ะ
ถึงตรงนี้ .... ให้เราลองหยิบส่วนผสมคุ๊กกี้ขึ้นมาปั้น ๆ ดูค่ะว่า ติดมือไหม ถ้าติดมือให้เอาไปแช่ในตู้เย็นสักแป๊บพอให้เนยแข็งตัวนิดนึงก่อนเอามาตักใส่ถาดอบ .... (แต่ว่าที่พิมทำนี่ ปั้นได้สบาย ๆ ไม่ติดมือ กำลังดีเลยค่ะ)
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-25.jpg
 
เมื่อเราผสมส่วนผสมคุ๊กกี้เสร็จ ต่อมาก็ถึงขั้นตอนของการอบล่ะนะคะ .... ซึ่งพิมพ์ที่พิมจะใช้อบขนมในวันนี้ก็เป็นถาดเหลี่ยมขนาด 10*13 นิ้วค่ะ และก่อนที่เราจะตักโดว์คุ๊กกี้วางลงไปบนถาดอบ อย่าลืมๆๆๆ ให้เราทาถาดอบของเราด้วยเนยขาวก่อนนะคะ หรือไม่อย่างนั้นหากขี้เกียจทา ก็ซื้อพวกแผ่นรองอบมาใช้
 
 
และหลังจากเตรียมถาดรองอบเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการปั้นส่วนผสมกันนะคะ ... เริ่มต้นด้วยการตักส่วนผสมคุ๊กกี้ประมาณ 1 ชช. พูน ๆ (หรือจะมากน้อยกว่านี้ก็ได้ค่ะ)
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-27.JPG
 
แล้วก็ปั้นอย่างเบามือ ให้มีรูปร่างกลม ๆ พอประมาณ ...... แต่ไม่ต้องให้กลมมากนะคะ เดี๋ยวจะดูไม่เป็น Homemade อ่ะ ^^"
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-28.JPG
 
แล้วก็เอาไปวางเรียงในถาดอบแบบนี้อ่ะค่ะ ซึ่งหากปั้นโดว์คุ๊กกี้ขนาดเดียวกับที่พิมปั้นเนี่ย สำหรับถาดขนาด 10* 13 นิ้ว ก็จะวางได้ประมาณ 20 ชิ้น กำลังงามเลยค่ะ ..... แต่ถ้าหากอยากให้วางได้สัก 30 ชิ้น (แบบในภาพด้านล่างนี่) ก็จะต้องปั้นให้เล็กกว่านี้นิดนึงนะคะ
 
 
เมื่อปั้นเสร็จ วางเรียงในถาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เราตกแต่งหน้าตาและรสชาติของคุ๊กกี้ด้วยการวางช๊อคชิพ 3-4 อันบนหน้าคุ๊กกี้อ่ะค่ะ (อย่าลืมกดให้จมนิดนึง)
 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-30.JPG
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-31.JPG
 
และก็กดด้วยปลายช้อนส้อมอย่างเบามือ ให้คุ๊กกี้แบนลงเล็กน้อยก่อนนำเข้าไปอบนะคะ
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-32.JPG
 
จากนั้นก็นำเข้าไปอบไฟ 175 องศาซี เป็นเวลาประมาณ 10-15 นาทีค่ะระหว่างอบ อย่าลืมกลับถาด สีคุ๊กกี้จะได้สม่ำเสมอกันนะคะ
 
และเมื่ออบเสร็จแล้ว ..... เราก็จะได้คุ๊กกี้หน้าตาประมาณนี้ออกมาค่ะและเมื่อเอาคุ๊กกี้ออกมาจากเตาอบแล้ว อย่าลืมรีบแซะคุ๊กกี้จากถาดอบวางพักไว้บนตะแกรงนะคะ ไม่งั้นหากทิ้งไว้นาน ๆ หยดน้ำที่อยู่บนแผ่นรองอบ ใต้คุ๊กกี้ จะทำให้ก้นคุ๊กกี้นิ่มค่ะ หรือถ้าไม่ใช่แผ่นรองอบ หากปล่อยให้คุ๊กกี้เย็นคาถาด ก้นคุ๊กกี้ก็จะติดกับถาด แซะออกลำบาก

 
http://pim.in.th/images/all-bakery/chocchip-butter-cookies/chocchip-butter-cookies-35.JPG

วันพุธ, ตุลาคม 03, 2555

ครัวซอง : butter croissants

นี่คือครัวซองสูตรรีบทำรีบกินค่ะ ใช้เวลาทำแป๊บๆ (แป๊บแม้วนะคะ 55) ไม่นานเหมือนสูตร 2 วัน 1 คืน แต่แป้งก็รีดง่ายดีค่ะ เนื้อแป้งค่อนข้างนิ่มเลยรีดไม่ยาก วันนี้ที่เราทำอากาศค่อนข้างร้อนแต่ก็ทำได้ราบรื่นดี เนยไม่มีปริมีปลิ้นค่ะ พอตอนอบก็พองฟูตอนเอาออกจากเตาอบ จับวางบนตะแกรงตัวครัวซองงี้เบาโหวงเลย แล้วตอนกัดกินเนี่ยได้ใจจริงๆ ผิวบางกรอบ กร๊อบ ข้างในนุ่มโปร่ง อร่อยคุ้มค่าเวลาทำจริงๆ ค่ะ
ส่วนผสมแป้ง สำหรับครัวซองประมาณ 8 ตัว
  • แป้งขนมปัง 250 กรัม
  • นมสด 140 กรัม
  • ยีสต์แห้ง 5 กรัม (ยีสต์สด 15 กรัม)
  • น้ำตาลทราย 30 กรัม
  • เกลือป่น 5 กรัม
  • วานิลาบัทเทอร์ 1/3 ชช
บล็อกเนย
  • เนยสดเย็น 120 กรัม
นอกจากนั้น
  • ไข่แดง1 ฟอง+นมสด 1 ชต. สำหรับทาผิวก่อนอบ
วิธีทำ


ใส่ยีสต์ น้ำตาลทราย และนมสดลงไปในอ่างผสม คนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลายแล้วจึงใส่แป้ง เกลือ และวานิลาลงไปผสม นวดจนส่วนผสมเข้ากันดี เราใช้เครื่องตีมือถือหัวเกลียวนวดประมาณ 1-2 นาทีค่ะ

เสร็จแล้วก็รวบแป้งเป็นก้อนกลม (หรือสี่เหลี่ยม) โรยแป้งนวลบางๆ ห่อพลาสติกใสให้มิดชิดแล้วนำไปแช่เย็นไว้ 30 นาทีค่ะ


จากนั้นนำแป้งออกมาคลึงให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหนาประมาณ 1/3 ซม. โดยให้ความยาวมากกว่าความกว้างสัก 3 เท่านะคะ (เช่น ยาว 40 ซม. กว้าง 15 ซม.)

เสร็จแล้วนำเนยออกจากตู้เย็นใส่ถุงพลาสติก แล้วรีดเนยให้ด้านกว้างมีขนาดเกือบเท่าความกว้างของแป้ง และความยาวประมาณ 2/3 ของแผ่นแป้ง (รูปที่ 1 คือบล็อกเนยค่ะ พอดีเราใส่รูป 1 กับ 2 สลับกัน) จากนั้นนำบล็อกเนยวางไว้ด้านใดด้านหนึ่งของแผ่นแป้งค่ะ (รูปที่ 4) พับแป้งด้านที่ไม่มีเนยลงมาทับเนย แล้วตลบปลายแป้งอีกด้านมาทับกันอีกที ทำเหมือนพับจดหมายน่ะค่ะ (รูปที่ 5-6)

จากนั้นก็รีดแป้งตามยาวให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ 40 ซม. ส่วนด้านกว้างไม่ต้องสนใจแล้วค่ะ เริ่มรีดจากตรงกลางแป้งไปด้านบน และจากกลางแผ่นแป้งลงด้านล่าง พยายามกดน้ำหนักไม้ให้สม่ำเสมอ ไม่ต้องออกแรงมาก และอย่ารีดไปรีดมาบ่อยๆ นะคะ เดี๋ยวเนยจะคลายความเย็นแล้วจะซึมเข้าตัวแป้งแล้วปลิ้นออกมา ใช้เวลารีดแป้งไม่เกิน 2 นาทีนะคะ (รูปที่ 7) ถ้าใช้เวลารีดนานเกินไปจนเนยซึมเข้าตัวแป้ง เมื่ออบแล้วครัวซองจะไม่โปร่งเบาและไม่เห็นเป็นชั้นค่ะ

จากนั้นก็พับปลายทั้งสองด้านเข้าหากัน แล้วพับทบอีกครั้งเหมือนหนังสือค่ะ (รูปที่ 8-9) ใช้นิ้วจิ้มแป้ง 1 ครั้งเพื่อทำเครื่องหมายไว้ว่าได้รีดแป้งไป 1 ครั้งแล้ว ใช้พลาสติกใสหรือถุงพลาสติกหุ้มแป้งให้มิดชิด นำไปแช่เย็น 20 นาที (ถ้าอากาศร้อนมากๆ อาจต้องพักแป้งนานถึง 30 นาทีค่ะ)


นำแป้งออกมารีด พับ และแช่เย็นอีก 2 รอบค่ะ (รอบที่ 1 ใส่เนยแล้วรีดแป้ง ส่วนรอบที่ 2 และ 3 แค่รีดแป้งแล้วพับค่ะ อย่าลืมใช้นิ้วจิ้มแป้งทำสัญลักษณ์จำนวนครั้งของการรีดพับไว้กันลืมเหมือนในรูปที่ 15 ด้วยนะคะ) พักแป้งรอบสุดท้ายก่อนรีดประมาณ 30-45 นาทีนะคะ


เมื่อพักแป้งครบ 3 รอบแล้วก็นำออกมาคลึงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหนาประมาณ 2-3 มล. แล้วตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยม กรีดตรงกลางด้านกว้างประมาณ 1.5 ซม. แล้วพับปลายทั้งสองด้านก่อนม้วนเป็นรูปครัวซองค่ะ นำครัวซองวางบนถาดอบที่ปูกระดาษไว้แล้วใช้พลาสติกใสคลุมครัวซองไว้ พักในที่อุ่น (แต่ไม่ควรร้อนเกิน 40 ซีนะคะ) ให้ขึ้นอีกประมาณ 1 ชั่วโมงหรือจนกว่าจะเห็นว่าครัวซองขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อสัมผัสเบาๆ แล้วรู้สึกว่ามันหยุ่นๆ หยุยๆ เบาๆ โปร่งๆ ก็อุ่นเตาได้เลยค่ะ

เมื่อแป้งขึ้นดีแล้วก็จัดการอุ่นเตาอบไว้ที่ 200 ซี ตีไข่แดงกับนมพอเข้ากัน นำมาทาผิวครัวซองให้ทั่ว นำถาดวางชั้นกลางของเตา อบประมาณ 10 นาที แล้วลดเหลือไฟ 180 ซี อบต่ออีกประมาณ 10-15 นาทีค่ะ



เมื่ออบสุกดีแล้วก็นำครัวซองออกจากเตาอบ พักบนตะแกรงให้อุ่นซะก่อนค่อยทานนะคะ ขืนจัดการตอนร้อนๆ เดี๋ยวลวกปากลวกลิ้น หมดอร่อยกันพอดีค่ะ หากไม่ได้ใส่ไส้ให้ครัวซองก็กินกับแยม นูเทล่า หรือผ่าครึ่งตอนที่ยังอุ่นๆ แล้วใส่ผักสลัด แฮมและชีสก็อร่อยมากๆ เลยค่ะ คนที่บ้านชอบกินแบบนี้มาก


ครัวซองนี่ควรอบให้ข้างในสุกจริงๆ นะคะ ถึงจะเห็นข้างในเป็นชั้นๆ หากอบไม่สุกดีข้างในจะไม่โปร่ง เวลากัดก็อารมณ์เหมือนกำลังกินขนมปังมากกว่าครัวซองค่ะ กัดโชว์ตอนอุ่นๆ ค่ะ ตอนกัดนี่หลับตาพริ้มเห็นสวรรค์เลย (เวอร์ค่ะเวอร์)

 

Almond Tuile Cookies

almond-flake-tuiles-yummyza
ส่วนผสม :
  • ไข่ขาว 2 ฟอง
  • น้ำตาลทราย 60 กรัม
  • เนยหรือมาการีน 2 ช้อนโต๊ะ หรือ 30 กรัม (ละลาย)
  • แป้ง 50 กรัม
  • วานิลา 1/4 ช้อนชา
  • อัลมอนด์สไลด์ หรือ เมล็ดฟักทอง (ตามที่ต้องการ)
Tuile Cookies เป็นคุ้กแบบกรอบและมีกลิ่นหอมที่ดีจากอัลมอนด์ที่สามารถเสพติดจริงอร่อยค่ะ ไม่ว่าจะทำกี่ครั้งก็ไม่เคยจะเหลือเลยค่ะ เพราะเนื่องจากความหอมอร่อยของตัวคุ้กกี้เอง วันนี้ีมี Tuile สูตร ผสมอัลมอน มาให้ลองชิมกันนะคะ
วิธีทำ :
  1. นำแป้งละน้ำตาลผสมให้เข้ากันคนให้ทั่ว
  2. นำเนยละลายแล้วผสมไข่ขาว และวานิลา ตีเบาๆ ให้เข้ากัน ไม่ต้องให้ขึ้นฟู.แค่ผสมให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 30 นาที
  3. ตักเนื้อแป้งที่ผสมแล้วครั้งละ 1 ช้อนชา ใส่ลงในถาดที่รองด้วยกระดาษพาร์ชเม้นท์ parchment ห่างกันประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว แล้วใช้ก้นของช้อนเกรี่ยให้ทั่วเป็นวงกลมเหมือนเราทำขนมเบื้องให้แป้งบางๆ แต่อย่าบางมาก
  4. โรยอัลมอนที่เตรียมไว้ตรงกลางเนื้อคุ้กกี้
  5. นำเข้าเตาอบที่อุณหภมูิ 180 องศา นาน 3 นาที หรือจนกระทั่งตัวคุ้กกี้เป็นสีน้ำดาลอ่อน ไม่สีเข้มจนเกินไป
  6. เมื่อนำคุ้กกี้ออกจากเตา ทิ้งไว้สัก 1 นาทีแล้วค่อยๆ.ทำการแชะตัวคุ้กกี้ออกจากแผ่นกระดาษ ผึ่งไว้ที่ตะแกรงจนเย็น และเก็บไว้ในภาชนะที่ไม่โดนลม สามารถเก็บไว้รับประทานได้ค่ะ สูตรนี้จะได้คุ้กกี้ ประมาณ 35-38 ชิ้น

ขอบคุณ http://www.yummyza.com/almond-tuile-cookies/

Almond Tuile Cookies



1. ไข่ขาว 3 ฟอง
2. น้ำตาลทรายป่น ¾ ถ้วย
3. แป้งสาลีอเนกประสงค์ ½ ถ้วย
4. เนยสด 6 ช้อนโต๊ะ หรือ 85 กรัม (ละลายพักไว้ให้เย็นค่ะ)
5. อัลมอนด์สกัด 1/8 ช้นชา - ไม่มีก็ใช้วนิลาสกัด ½ ช้อนนะคะ
6. เกลือ 1/4 ช้อนชา



อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำ




นอกจากนี้ ก็จะมีพายยาง (ไม่มีในรูป) เอาไว้ตักแบทเทอร์ สแป๊ตทูล่า เอาไว้แซะคุกกี้ออกจากพิมพ์
หลังจากอบ ... ความจริง เราเอามือหยิบชิ้นคุ้กกี้ออกจากถาดเลยก็ได้ แต่จะค่อนข้างร้อนค่ะ ....

วิธีทำ

1. ทาเนยบาง ๆ บนถาดที่จะใช้ให้ทั่ว (ต้องทานะคะ ไม่งั้นคุ้กกี้จะพิมพ์ ยกเว้นถ้าใช้ Silpat รองก็ไม่ต้องทา) เนื่องจาก Tuiles ต้องแบ่งอบหลาย ๆ ครั้ง ควรจะมีถาดสำรองไว้ซัก 3 ถาด ก็จะดีค่ะ จะได้ประหยัดเวลาในการทำ … เสร็จแล้วก็อุ่นเตาอบไว้ที่ 350 F (180 C) นะคะ … ถ้าไฟเตาอบใครแรง เวลาอบค่อยลดลงมา 325 F (160 C) ค่ะ




2. ตีไข่ขาว น้ำตาลทรายป่น เนยละลาย อัลมอนด์หรือวนิลาสกัด เกลือ ให้เข้ากันดี เราใช้ตะกร้อมือค่ะ
ตีเร็ว ๆ ออกแรงนิด ๆ นะคะ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 นาที




ได้ประมาณนี้ค่ะ



3. เสร็จแล้วก็ร่อนแป้งลงผสม (จะไม่ร่อนก็ได้ค่ะ ทำมาแล้ว ได้ผลเหมือนกัน) คนส่วนผสมให้เข้ากัน ประมาณ 30 วินาที





4. จะได้แบทเทอร์ข้นหน่อย ๆ ประมาณนี้ค่ะ …


พอเสร็จขั้นตอนนี้ หากไม่ต้องการทำเป็นแบบแฟนซีหรือรสพิเศษใด ๆ ก็นำแบทเทอร์ไปไปหยอดบนพิมพ์ที่เตรียมไว้นะคะ ตักครั้งละ 1 ช้อนชาพอ แล้วก็ใช้หลังช้อน หรือสแป๊ตทูล่าเล็ก (Off Set) เกลี่ยแบทเทอร์ให้เรียบเสมอกัน เพื่อเวลาอบเนื้อขนมจะได้มีสีเสมอกันค่ะ .... กรณีจะพับคุ้กกี้ แบบ Tuiles ทั่วไป รือเอาไปทาบให้โค้งกับไม้พิน ก็ให้หยอดครั้งละ 4 ชิ้นพอนะคะ .... เดี๋ยวจะพับไม่ทัน ... ขนมจะแข็งตัวเสียก่อน แต่ถ้าไม่พับ ก็สามารถอบหลาย ๆ ชิ้นเหมือนคุ้กกี้ทั่วไปได้เลยค่ะ เราไม่มีรูปให้ชม เพราะทำเป็นแบบอื่น


ใครเตาอบแรงอย่าลืมลดอุณภูมิให้เหลือ 325 F (160 C) นะคะ ....เวลาอบประมาณ 5 - 7 นาที

วิธีทำเพิ่มเติม ….




หากต้องการคุ้กกี้เป็นรสงา ก็เอาผสมหลังจากวิธีทำข้อ 4 ข้างต้นนะคะ ทั้งสูตร เราใช้งาดำ ¼ ถ้วย
งาขาว 1/8 ถ้วยค่ะ .... คนผสมพอให้เข้ากันค่ะ อย่าคนนาน ...






เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เราใช้ stencil นะคะ ตักแบทเทอร์ลงบนแบบ แล้วก็ใช้การ์ด หรือไพ่ เกลี่ยบาง ๆ เสมอกัน เพื่อเวลาสุก คุ้กกี้จะได้กรอบ ....เสร็จแล้วก็นำเข้าเตาอบประมาณ 5-7 นาที แล้วแต่เตาอบ และความชอบด้วยค่ะ ชอบแบบกรอบ ๆ มาก ๆ ก็อบนานหน่อย เราอบประมาณ 6 นาทีค่ะ





หน้าตาคุกกี้ที่ได้ เราต้องการให้กรอบมาก ๆ ก็อบจนได้สีประมาณ นี้ค่ะ ... เราไม่พับคุ้กกี้ ค่ะ เพราะมีขนาดค่อนข้างเล็กแล้ว ...




อันนี้ลองทำเป็นรสอัลมอนด์ ... ใช้อัลมอนด์สไลซ์โรยหลังจากเทแบทเทอรฺ์บนแผ่น stencil แล้ว
จะสับหรือไม่สับ

ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tastypastry&month=18-11-2009&group=10&gblog=18