วันอังคาร, กรกฎาคม 23, 2556

เคยทราบกันหรือไม่ว่า ออฟฟิศ หรือสถานที่ที่เรานั่งทำงานกันวันละ 8ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย นอกจากจะเป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่ามอบความมั่นคงในชีวิตแล้ว ออฟฟิศ หรือสถานที่ทำงานที่คนหนุ่มคนสาวหายเข้าไปตอนเช้าตรู่ กรูกันออกมาตอนพักเที่ยง และกลับบ้านตอนเย็น นั่นคือแหล่งสะสมโรคทั้งสิ้น.......
โรคออฟฟิศสิง ตามมาดูข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ด้วยกันครับ.........
http://board.postjung.com/data/682/682481-topic-ix-0.gif 1.โรคผมร่วง อย่าเพิ่งขำเชียวว่า ออฟฟิศทำให้ผมร่วง เพราะนี่ไม่ได้เป็นการขู่ให้ใครกลัว แต่รู้เถอะว่านอกจากอาการเครียดเป็นสาเหตุหลักทำให้เส้นผมร่วงมากกว่า30 เส้นต่อวันแล้ว หนุ่มสาวออฟฟิศที่ได้รับแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ ก็เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงเช่นกัน เพราะแสงแดดในยามเช้าช่วยให้เราสังเคราะห์วิตามินเคที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมถึงหนังศีรษะด้วย
2.ปวดหัว,ไมเกรน สาเหตุก็คงทราบกันแล้วว่า อาการปวดหัว หรือไมเกรน เกิดจากความเครียด แต่สาเหตุอีกประการที่น่าสนใจคือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กาเฟอีน(กาแฟ น้ำอัดลม ยาชูกำลัง) อาหารไขมันสูง อาหารประเภทเนื้อสัตว์90% เป็นอาหารหลัก แม้ว่าอาการอัลไซเมอร์จะเป็นอาการสมองเสื่อมโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆ ของอาการสมองเสื่อมอื่นๆ ก็คือ การรับประทานอาหารดังกล่าว อีกสาเหตุหนึ่งที่น่าสนใจคือการขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยปรกติเราต้องออกกำลังกายประมาณ10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย แต่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มักอ้างว่าไม่มีเวลาออกกำลังกาย
3.ปวดตา น้ำตาแห้ง การนั่งหน้าจอเกินวันละ6 ชั่วโมง และการเพ่งอยู่หน้าจอในที่มืดรวมทั้งการขาดวิตามินเอ และบี ถ้าไม่อยากให้น้ำตาแห้งก็ควรหาโอกาสออกไปมองฟ้าบ้าง
4.ไซนัส ดูเหมือนโรคเป็นหวัด คัดจมูก ภูมิแพ้ จะกลายเป็นโรคประจำของหนุ่มสาวออฟฟิศไปซะแล้ว ก็วันๆ นั่งอยู่แต่ในห้องปรับอากาศ ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าพนักงานแอร์มาทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศครั้งสุดท้ายตั้งแต่เมื่อไหร่ ทางที่ดีควรหาเวลาออกไปสูดอากาศข้างนอกบ้าง ปอดจะได้ไม่พังก่อนเวลาอันควร
5.ปากเหม็น นอกจากอาหารพวกกาแฟ แอลกอฮอล์ ความเครียด ยังเป็นพาหะเร่งให้แบคทีเรียทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีที่สุด ถ้าไม่อยากถูกตราหน้าว่าเป็นคนปากเหม็นก็ต้องพูดให้มากขึ้น น้ำลายจะได้ไม่บูด
6.ปวดคอ,ปวดไหล่ ปวดข้อ ปวดนิ้ว โดยมากเกิดจากอาการนั่งทำงานผิดท่า นั่งเก้าอี้โต๊ะที่ไม่รองรับต่อการทำงาน แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า แม้ท่านจะนั่งถูกท่าแล้ว แต่หากนั่งเป็นเวลานานๆ ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถซะบ้าง อาการปวดคอ ปวดไหล่ ก็ถามหาเช่นกัน
7.โรคอ้วน ทุกวันเรากินอาหารอย่างน้อย3 มื้อ มีพลังงานมากมายเข้าสู่ร่างกาย แต่ถูกเผาผลาญไปน้อยนิดก็ต้องอ้วนเป็นธรรมดา ถ้าไม่อยากให้ออฟฟิศเป็นสถานที่เพาะน้ำหนักแล้วละก็ อาหารประเภทแฮมเบอร์เกอร์ น้ำอัดลม พิซซ่า ที่คุณทำไปกินไปน่ะเลิกซะ
8.โรคกระเพาะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งโรคฮิตของหนุ่มสาวออฟฟิศ เพราะนอกจากการกินอาหารไม่เป็นเวลาจะเป็นสาเหตุใหญ่ รู้หรือไม่ว่าการกินอาหารแบบเร่งรีบ ยังส่งผลให้กระเพาะ และระบบขับถ่ายทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพด้วย
9.ริดสีดวง การนั่งนานๆ จะทำให้เกิดการกดทับของเส้นเลือดดำบริเวณปลายลำไส้ และเกิดอาการเลือดคั่ง บวม ยิ่งน้ำหนักมาก ก็จะยิ่งเร่งให้เป็นโรคนี้เร็วขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นนอกจากจะต้องควบคุมน้ำหนักตัวแล้ว ควรอย่างยิ่งที่หนุ่มสาวออฟฟิศจะต้องลุกเดินไปทักเพื่อนร่วมงานบ้าง ว่าแต่อย่าไปเมาท์นานจนเจ้านายตาเขียวเชียว เดี๋ยวจะกลายเป็นโรคตกงานแทนโรคออฟฟิศไม่รู้ด้วยนะ!!
10.ภาวะหัวใจล้มเหลว(หรือที่เรียก เป็นภาษาอังกฤษว่า ฮาร์ท-เฟล-เลีย, Heart failure)นั้นเป็นภาวะที่หัวใจมีความอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ได้ตามที่ต้องการทำไมหัวใจจึงทำงานได้ล้มเหลว ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดได้จากสภาวะทางโรคหัวใจหลายชนิด ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือขาดเลือด โรคความดัน
โลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเองซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า คาร์-ดิ-โอ-ไม-ออป-พาตี้(cardiomyopathy) โรคการอักเสบและการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจหรือของ
ลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น ยาบ้า การดื่มสุราและแอลกอฮอล์
· จะมีอาการอย่างไร
· เหนื่อยง่ายหรือไอเมื่ออกแรงหรือออกกำลังหรือขณะพักหายใจลำบาก แน่น หรือหายใจเหนื่อยหอบเมื่อนอนราบ และอาการอาจดีขึ้น
· เมื่อลุกขึ้นนั่ง ตื่นขึ้นมาเมื่อนอนหลับไปแล้วเพราะเหนื่อย เพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่ายหน้าแข้งหรือข้อเท้าบวมแน่นในท้องเหมือนมีน้ำในท้อง
· น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการคั่งของน้ำ (ไม่ ได้รับประทานอาหารมากขึ้น)
· การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างทีมแพทย์และพยาบาลกับผู้ป่วย ปัจจุบันมีการรักษามากมายขึ้นกับความเหมาะสมของสภาวะของผู้ป่วยในแต่ละรายไป การรักษาดังกล่าวได้แก่ การรักษาด้วยยา การใส่เครื่องกระตุ้น CRTการใส่เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือการปลูกถ่ายหัวใจ เป็นต้น
ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวเองได้อย่างไร
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน และ รับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลสั่งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการปฏิบัติตัวดังกล่าวจะส่งผลคุณจะรู้สึกมีอาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
2. คุณจะต้องสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิดว่าคุณมีอาการผิดปกติซึ่งต้องรายงานให้แพทย์หรือพยาบาลทราบหรือไม่
3. คุณจะต้องมาติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้งเพื่อให้แพทย์ได้ประเมิน ปรับเปลี่ยนยา และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
ปรับตัวอย่างไรเพื่อให้รู้สึกสบายและอยู่กับโรคหัวใจล้มเหลวนี้ได้
· ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน !คุณต้องชั่งน้ำหนักตัวเองกับเครื่องชั่งเครื่องเดียวกันเป็นประจำทุกเช้าหลังจากคุณถ่ายปัสสาวะในยามเช้า
· (แต่ควรชั่งน้ำหนักก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำในยามเช้า) จดบันทึกน้ำหนักตัวคุณในสมุดบันทึกน้ำหนักตัวซึ่งทางheart failure clinic
· ได้จัดให้ หากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มากกว่าหรือเท่ากับ1.5กิโลกรัม ภายในเวลา 2 วัน จะหมายความว่าคุณมีสารน้ำคั่งอยู่ในร่างกายมากกว่า ปกติ ซึ่งหากคุณมีน้ำหนักเกินกำหนดดังกล่าวคุณควรโทรหาพยาบาล ประจำคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลวหรือปรึกษาแพทย์……………..
· ตัดใจจากความเค็ม !การกินเค็มหรือเกลือ (หรือที่เรียกว่าโซเดียม) จะทำให้ร่างกายมีภาวะคั่งของสารน้ำ เนื่องจากสัดส่วนน้ำจะแปลผันตรงกับสัดส่วนเกลือ การคั่งของน้ำและเกลือจะทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักขึ้นและหนักเกินไป ยังส่งผลให้หัวใจอ่อนแอลง ให้ทำตามคำแนะนำเรื่องเกลือและความเค็มของอาหารตามเอกสารให้ความรู้และการแนะนำจากพยาบาลคลินิกหัวใจล้มเหลว โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะอนุญาตให้รับประทานเกลือได้ไม่เกิน1.5ถึง 2 กรัม (หรือ 1500-2000 มิลลิกรัม) แนะนำให้คุณอ่านฉลาก ข้างผลิตภัณฑ์อาหาร และมองหาปริมาณ โซเดียม
· ยา !ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยยา และมีผู้ป่วยจำนวนมากซึ่งต้องรับประทานยาหลายชนิด คุณจะต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ให้นำชื่อยาเป็นภาษาอังกฤษและขนาดของยาดังกล่าวที่รับประทานมาพบแพทย์หรือพยาบาลประจำคลินิกหัวใจล้มเหลวทุกครั้ง คุณควรทำความเข้าใจยาแต่ละชนิดว่าจำเป็นต่อคุณอย่างไร หากคุณมีอาการซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยาควรรายงานอาการดังกล่าวให้แพทย์ทราบทันที ห้ามลืมรับประทานยาหรือจัดสรรยายามที่คุณต้องเดินทางไกลหรือท่องเที่ยวห้ามนำยาดังกล่าวใส่ในประเป๋าเพื่อ load ไปกับสายการบิน ให้พกติดตัวตลอดเวลา
· ห้ามดื่ม เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ สุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้การบีบตัวของหัวใจจองคุณลดประสิทธิภาพ
· ห้ามสูบบุหรี่หากคุณยังตัดใจจากบุหรี่ไม่ได้ กรุณาติดต่อแพทย์และพยาบาลคลินิกหัวใจล้มเหลวเพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลิกบุหรี่ บุหรี่จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับตัวเองถึงแม้จะเป็นโรคหัวใจล้มเหลว
· พักผ่อนหาเวลาผ่อนคลาย หางานอดิเรกซึ่งคุณมีความสุข การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ เย็บปักถักร้อย หรือการเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมซึ่งสามารถทำให้คุณมีความสุขเล็กๆน้อยๆได้·อนุญาตให้ลูกหลาน คนในครอบครัว หรือ เพื่อนช่วยคุณทำงานซึ่งต้องใช้กำลังมาก เช่น การทำสวน ซักผ้า ทำกับข้าวหรือทำงานบ้าน
· คุณจะต้องไม่ทำตนเองให้ตกอยู่ในความเครียด กังวลพยายามพักผ่อนและผ่อนคลาย
สัญญาณเตือน นอนโรงพยาบาลเพราะน้ำท่วมปอดหากมีอาการต่อไปนี้ให้โทรศัพท์ถึงพยาบาลประจำคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว หรือมาพบแพทย์น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า1.5กิโลกรัมภายในเวลา 2 วัน ข้อเท้าหน้าแข้ง บวมมากขึ้น เหนื่อยหอบเวลานอนราบ เหนื่อยหอบผิดปกติ เพลียมากผิดปกติ ปวดศีรษะ วิงเวียนจะเป็นลม รู้สึกกระสับกระส่ายไม่สบายตน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีอาการผลข้างเคียงจากยาที่รับประทาน เจ็บ หรือ แน่นปบริเวณหน้าอก เมื่อออกแรง และอาการดีขึ้นเมื่อนั่งพัก หรืออมยาอมใต้ลิ้น อาการที่ควรไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินโดยทันที แน่นหน้าอกเป็นอย่างมาก หายใจไม่ออก หอบเหนื่อยมาก เหงื่อออกมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยวเป็นลมหมดสติ..
คุณต้องออกกำลังกายบ้าง(โดยไม่หักโหม) และ ไม่กิน-นั่ง-นอนกับเตียง! หัวใจของคุณจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยาบาลและแพทย์ประจำคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถให้คำแนะนำหรือส่งคุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลัง
(Cardiac rehab)ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น รู้กันอย่างนี้แล้ว.. ถ้าไม่อยากได้โรคทั้ง 10 เป็นของแถมจากออฟฟิศ ก็ลุกขึ้นมาใส่ใจสุขภาพตัวเองกันได้แล้ว เพื่อคนที่คุณรักและคนที่รักคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น