วันอาทิตย์, กันยายน 13, 2552

รถไฟฟ้า หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา (รออยู่ ไม่รู้ว่าจะได้ใช้บริการหรือเปล่า)


โครงการต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส จากหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา ระยะทาง 30 กิโลเมตร
สายนี้เป็นเส้นเดียวกับที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เคยศึกษาความเหมาะสมของโครงการไว้เบื้องต้น ตั้งแต่เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา โดยขณะนั้นได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ด้วย ปรากฏว่า ได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดี   สถานะล่าสุดของโครงการทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ร่วมกับ กทม. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาออกแบบรายละเอียด มีกำหนดแล้วเสร็จ ในเดือนเมษายน 2551 หลังจากนั้น จะสามารถเปิดประมูลได้ทันที  อย่างไรก็ตามเป็นการออกแบบรายละเอียดเพียงบางส่วนเท่านั้น คือ จากหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กิโลเมตร โดยต่อเชื่อมกับบีทีเอส สถานีหมอชิต ไปทางห้าแยกลาดพร้าว วิ่งไปตามแนวถนนพหลโยธินจนถึง สะพานใหม่ โครงสร้างเป็นทางยกระดับ มีทั้งหมด 12 สถานี

1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว อยู่บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว
2.สถานีพหลโยธิน อยู่ปากซอยพหลโยธิน 24
3.สถานีรัชโยธิน เลยแยกเมเจอร์รัชโยธินไปเล็กน้อย
4.สถานีเสนานิคม อยู่บริเวณซอยเสนานิคม 2
5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ห่างจากแยกเกษตรศาสตร์ 150 เมตร
6.สถานีกรมป่าไม้ ใกล้โรงเรียนสารวิทยา
7.สถานีบางบัว ใกล้มหาวิทยาลัยศรีปทุม และโรงเรียนบางบัว
8.สถานี ทหารราบที่ 11 อยู่ด้านหน้ากรมทหารราบที่ 11
9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุใกล้สำนักงานเขตบางเขน
10.สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ อยู่หน้าโลตัสสะพานใหม่
11.สถานีพหลโยธิน 50 อยู่ปากซอยพหลโยธิน 50 และ
12.สถานีตลาดยิ่งเจริญ อยู่ด้านหน้าตลาดยิ่งเจริญ
ใช้งบฯลงทุนก่อสร้างประมาณ 20,000 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นงานก่อสร้างโยธา 10,000 ล้านบาท งานติดตั้งระบบ 4,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 1,400 ล้านบาท และงานจัดหารถไฟฟ้าอีกประมาณ 5,000 ล้านบาท  ส่วนช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกาที่ กทม.ศึกษาความเหมาะสมไว้แล้ว จะเป็นโครงสร้างยกระดับต่อจากช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ จากสถานีสะพานใหม่วิ่งไปตามแนวถนนพหลโยธินจนสุดเขต กองทัพอากาศ แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยัง ถนนลำลูกกา สิ้นสุดบริเวณถนน กาญจนาภิเษก รวมระยะทาง 12.2 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 6 สถานี
1. เริ่มจากสถานีดอนเมือง
2. สถานีโรงเรียนนายเรืออากาศ
3. สถานีคูคต
4. สถานีคลองสาม
5. สถานีคลองสี่
6. ปลายทางสถานีวงแหวนรอบนอก
สำหรับงบฯลงทุน ผลการศึกษา เมื่อปี 2548 ระบุว่าต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 15,746.47 ล้านบาท แยกเป็นงานโยธา 9,859.15 ล้านบาท ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 3,163.32 ล้านบาท ระบบรถ 2,000 ล้านบาท ค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค 524 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินและจัดกรรมสิทธิ์ 200 ล้านบาท วิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินออกมาอยู่ที่ 14.95% ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ 13.80%  ส่วนต่อขยายช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกานี้ ความตั้งใจจะลงมือก่อสร้างเหมือนกับที่ประกาศไว้ แล้วนำ ผลการศึกษาเดิมมาปัดฝุ่น พร้อมกับศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติม ยืดสายทางออกไปถึงลำลูกกาคลอง 7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น