หากเรารู้จักตัวเองว่าถนัดและมีจุดอ่อนด้านไหน ก็ยิ่งช่วยให้เราสนุกกับการเรียนรู้ และครูผู้สอนก็สามารถสร้างสรรค์หลากวิธีสอนมาช่วยนักเรียนที่มีความถนัดแตกต่างกันไปตาม 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้



เรียนรู้ด้วยภาพ-กลุ่มนี้สมองจดจำภาพต่างๆ ได้ดี ทำให้เก่งตัวสะกดแต่จำชื่อไม่เก่ง ชอบเรียนหรือทบทวนตำราในที่สงัด ต้องขบคิดไปด้วยจึงจะเข้าใจที่ครูบรรยาย ชอบสีสันแม้ฝันยังเป็นสี ชอบชาร์ตและเก่งภาพแผนที่และสัญลักษณ์ แต่จะไม่ถนัดทักษะการฟังและทำบททดสอบตามคำบอกเล่า ควรใช้รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ การสรุป จดบันทึก การขีดเส้นใต้หรือระบายสีจุดสำคัญๆ เพื่อช่วยจำและเข้าใจบทเรียน
เรียนรู้ด้วยเสียง-กลุ่มนี้เด่นทักษะการฟัง ชอบอ่านออกเสียงแต่อ่านช้า อธิบายความเก่ง จดจำชื่อต่างๆ ได้ดี เก่งไวยากรณ์และภาษาต่างประเทศ อยู่นิ่งๆ ได้ไม่นาน ชอบเรียนเป็นกลุ่ม และชอบแสดงออก อ่อนการอ่านและเขียนตอบในเวลาที่กำหนด ควรใช้คำศัพท์ เสียงบันทึก ภาพวิดีโอ การอ่านอกเสียงซ้ำๆ พร้อมปิดตาเพื่อช่วยจดจำ
เรียนรู้จากประสบการณ์ลงมือทำ-กลุ่มนี้เก่งกีฬา สะกดคำไม่เก่ง ลายมือไม่ค่อยสวย ชอบการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สร้างแบบจำลอง สามารถอ่านหนังสือขณะเปิดเพลงเสียงดังได้ จึงควรเรียนรู้จากการทดลองค้นคว้า ออก field trip ยังสถานที่จริง และใช้เกมส์หรือเฟลชการ์ดช่วยกระตุ้นความจำ
ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพราะครูดี เปรียบดังมีกัลยาณมิตร และการจะเรียนอะไร หากใช้หลัก
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรือ สุจิปุลิ แน่นอนว่าความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น