1. แป้งสาลี
แป้งสาลีเป็นแป้งที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ จะมีโปรตีนอยู่ 2 ชนิดเป็นองค์ประกอบ คือ กลูเตนินและไกลอะดิน (Glutenin & Gliadin) ซึ่งเมื่อรวมตัวกับน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะเกิดสารเรียกว่า กลูเต็น (Gluten) มีลักษณะเป็นยางเหนียวยืดหยุ่นได้สามารถเก็บก๊าซทำให้เกิดโครงร่างแบบฟองน้ำข้าวสาลีที่นำมาโม่เป็นแป้งมี 2 ชนิด คือข้าวสาลีชนิดแข็ง (Hard wheat) และข้าวสาลีชนิดอ่อน (Sofe wheat)
องค์ประกอบของแป้งสาลี
- แป้ง (Starch) 70 %
- โปรตีน 11–13 %
- ความชื้น 12–14 %
- ไขมัน 1–2 %
- น้ำตาล 1 %
- เถ้า 0.5 %
- อื่นๆ 1–2 %
- แป้งขนมปังมีโปรตีนสูง 12 – 14 % เหมาะสำหรับทำขนมปังทั่ว ๆ ไป
- แป้งอเนกประสงค์ มีโปรตีนปานกลาง 10 – 11 % เหมาะสำหรับทำเพสตรี้, คุกกี้, บะหมี่, ปาท่องโก๋
- แป้งเค้ก มีโปรตีนต่ำ 7 – 9 % เหมาะสำหรับทำเค้ก
2. น้ำ
น้ำจัดเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญอีกตัวหนึ่งรวมหมายถึง น้ำในน้ำนม, หรือน้ำผลไม้ จะเป็นตัวทำหน้าที่รวมตัวกับโปรตีนในแป้งเพื่อให้เกิดกลูเต็นน้ำ แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด คือ น้ำอ่อน, น้ำกระด้าง, น้ำด่าง, น้ำที่เป็นกรด, น้ำเกลือ และน้ำที่มีสารแขวนลอย
หน้าที่ของน้ำ
- ช่วยทำให้เกิดกลูเต็น
- เป็นตัวละลายส่วนผสมอื่น ๆ เช่น น้ำตาล, เกลือ
- ควบคุมอุณหภูมิของโด ควบคุมความหนืดของโด
- น้ำทำให้แป้ง (Starch) เปียก และการเกิดพองตัว ทำให้เอ็นไซม์ทำงานได้ดี
- ช่วยทำให้เก็บผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น
3. น้ำตาล
น้ำตาลจัดเป็นคาร์โบไฮเดรทชนิดหนึ่ง ในที่นี้หมายถึงน้ำตาลซูโครส มีหลายชนิดคือ- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar)
- น้ำตาลทรายแดง (Brawn Sugar)
- น้ำตาลทรายดิบ (Raw Sugar)
- น้ำตาลไอซิ่ง (Icing Sugar)
- น้ำเชื่อม / แบะแซ (Corn or Dextrose Sugar)
หน้าที่ของน้ำตาลที่มีต่อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
- ให้ความหวานแก่ผลิตภัณฑ์และกลิ่นรส
- เป็นอาหารของยีสต์ในระหว่างการหมัก
- ถูกย่อยด้วยเอ็นไซม์เป็นโมเลกุลน้ำตาลขนาดเล็ก
- ช่วยในการตีครีมและตีไข่ให้มีความคงตัว
- ทำให้สีผิวของขนมสวยขึ้น
- เพิ่มคุณค่าทางอาหาร
4. ไขมัน
น้ำมันและไขมันประกอบด้วยกรดไขมันกักลีบเชอรอล ซึ่งจะแตกต่างกันที่ชนิดของกรด ไขมันที่เป็นองค์ประกอบ- น้ำมัน หมายถึง องค์ประกอบที่มีสภาพเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
- ไขมัน หมายถึง องค์ประกอบที่มีสภาพเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
- จากสัตว์ - ไขมันเนย (จากนม), ไขมันหมู, ไขมันปลา
- จากพืช - น้ำมันมะพร้าว, ปาร์ม, จากเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ฝ้าย, งา, ถั่วต่างๆ
ชนิดของไขมันที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ มี
- เนย (Butter)
- น้ำมันพืช (Vegetable Oil)
- ไขมันพืช/สัตว์ (Vegetable/Animal shortening)
- มาร์การีน (Margarine)
- โกโก้บัตเตอร์ (Cocoa butter)
หน้าที่ของไขมันในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แต่ละชนิด
1. สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยีสต์ เช่น ขนมปัง- ให้ความอ่อนนุ่ม และกลิ่นรส
- ช่วยกักเก็บก๊าซที่เกิดขึ้น ป้องกันอากาศภายนอก
- ช่วยหล่อลื่นกลูเต็น ทำให้เพิ่มปริมาตร
- จะเป็นตัวจับอากาศ ระหว่างการตีครีมกับน้ำตาล
- ไขมันที่มีอิมัลซิไฟเออร์ จะช่วยทำให้น้ำและไขมันในส่วนผสมรวมตัวกันได้ดี โดยเฉพาะไฮเรโชเค้ก
- ช่วยให้เกิดกลิ่นรส และความนุ่ม
- ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น
- ทำให้เกิดความคงตัว
- ทำให้มีลักษณะโครงสร้างเฉพาะ
5. ไข่
ในการทำผลิตภัณฑ์เบเกอรรี่ส่วนมากจะใช้ไข่ไก่ สำหรับบ้านเรานั้นใช้ในรูปของไข่สด
องค์ประกอบของไข่ (%)
ไข่ทั้งฟอง | ไข่แดง | ไข่ขาว | |
ความชื้น | 73.6 | 50.0 | 86.0 |
โปรตีน | 14.0 | 17.0 | 10.0 |
ไขมัน | 12.0 | 31.0 | 0.2 |
น้ำตาล | 0 | 0.2 | 0.4 |
เถ้า | 1.0 | 1.5 | 1.0 |
หน้าที่ของไข่
- เป็นตัวทำให้ผลิตภัณฑ์ขึ้นฟู
- สี จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีเข้มขึ้น
- เพิ่มคุณค่าทางอาหาร
- เพิ่มกลิ่นรสและความเข้มค้น
6. เกลือ
เกลือที่ใช้ในเบเกอรี่ทั่ว ๆ ไป หมายถึง โซเดียมคลอไรด์หน้าที่ของเกลือ
- ช่วยเพิ่มรสชาติ
- ช่วยควบคุมการทำงานของยีสต์ในการหมัก
- ช่วยทำให้กลูเต็นของโดมีกำลังในการยืดตัว
- ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของบักเตรีที่ไม่ต้องการ
7. สิ่งที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ขึ้นฟู
เพื่อช่วยให้ผลตภัณฑ์มีความฟู เบา นั้นพอแบ่งออกได้คือ- การขึ้นฟูด้วยาอากาศ เช่น การร่อนแป้ง การตีเนยกับน้ำตาล การตีไข่
- การขึ้นฟูด้วยไอน้ำ เกิดจากน้ำในส่วนผสมขยายตัวเป็นไอน้ำขณะอบ เช่น การพองตัว ของครีมพัฟ, พัฟเพสตรี้
- การขึ้นฟูด้วยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ แบ่งออกได้คือ
- เกิดจากขบวนการทางชีวเคมี
- เกิดจากขบวนการทางเคมี ได้แก่ ผงฟู ผงโซดา แอมโมเนีย เป็นต้น
ยีสต์
เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อหรือแบ่งตัว อาหารที่จำเป็น คือ น้ำตาลอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต 70 – 95 ฟ.ยีสต์มี 3 ชนิด คือ ยีสต์สด, ยีสต์แห้งเม็ด และยีสต์แห้งผง
อัตราเปรียบเทียบปริมาณการใช้ยีสต์ทั้ง 3 ชนิดคือ 5:2:1
หน้าที่
- สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้โดขยายตัว
- ทำให้เกิดโครงสร้างและลักษณะของเนื้อของโด
- ทำให้ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นรสเฉพาะตัว
- ช่วยเริมคุณค่าทางอาหาร
เบคกิ้งโซดา
ทางเคมีเรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้าง ซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อให้สารตกค้างหมดไป สามารถปรับได้โดยการเติมกรดอาหารลงไป เช่น นมเปรี้ยวผงฟู
เป็นสารที่ช่วยทำให้ขึ้นฟู เป็นส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนต กับสารเคมีที่ทำหน้าที่เป็นกรดและแป้งข้าวโพด เพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้ง 2 สัมผัสกันโดยตรง มี 2 ชนิดคือ ผงฟูกำลังหนึ่ง กับผงฟูกำลังสองวิธีทดสอบ ใส่ผงฟู 1 ช้อนชา ลงในน้ำร้อนถ้ามีฟองอากาศปุดขึ้นมาอย่างเร็วค่อย ๆ ช้าลงจนหมดแสดงว่าผงฟูนั้นยังมีคุณภาพดีอยู่
แอมโมเนีย
ได้แก่ พวกแอมโมเนียมคาร์บอเนต หรือไบคาร์บอเนต ใช้กันน้อย นิยมใช้ในการทำคุกกี้ ปาท่องโก๋ และครีมพัฟ8. นม
นมเป็นสารละลายที่ให้คุณค่าทางอาหารและกลิ่นรสเฉพาะตัว ที่ใช้ในเบเกอรี่มี 3 ชนิดคือ นมสด, นมข้น, นมผง
องค์ประกอบของนมชนิดต่าง ๆ มีดังนี้
ชนิด | % น้ำ | % บัตเตอร์แฟต | % โปรตีน | % น้ำตาลแลคโตส | % แร่ธาตุ | % น้ำตาลทราย |
นมสดบริสุทธิ์ | 88 | 3.5 | 3.25 | 4.5 | 0.75 | - |
นมข้นจืด | 72 | 8 | 7.25 | 10.5 | 1.75 | - |
นมข้นหวาน | 31 | 8 | 7.75 | 10.5 | 1.75 | 41 |
นมผงมีไขมัน | 1.5 | 27.5 | 27.0 | 38.0 | 6.0 | - |
นมผงไม่มีไขมัน | 2.5 | 1.5 | 36.0 | 51.5 | 8.0 | - |
หน้าที่ของนม
- เพิ่มคุณค่าทางอาหาร และน่ารับประทาน
- ช่วยให้สีสันเข้มขึ้น
- เป็นตัวทำละลายให้ส่วนผสมเข้ากันและเกิดโครงสร้าง
9. สารเสริมคุณภาพ
สารเสริมคุณภาพ หมายถึงสารผสมที่มีลักษณะเป็นผงประกอบด้วยสารที่ทำให้กลูเต็นอ่อนตัวตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป ซึ่งสารนี้จะช่วยเปลี่ยนคุณสมบัติของก้อนแป้งทำให้ได้ขนมปังที่ดีขึ้น สารเสริมพวกนี้แตกต่างไปจากส่วนผสมจำพวก น้ำตาล ไขมันหรือไข่สารเสริมคุณภาพนี้ใช้เพียงปริมาณเล็กน้อยเล็กน้อยเท่านั้นก็ได้ผลดี ดังนั้นเพื่อให้การชั่งตวงสารเหล่านี้ทำได้ง่ายขึ้น จึงมักผสมสารดังกล่าวกับส่วนผสมที่ไม่ไวต่อปฏิกิริยาสารนี้มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยมีชื่อการค้าต่าง ๆ กัน
สารที่ใช้ในการทำให้ส่วนผสมที่ทำงานได้รวดเร็วให้เจือจางลงนี้ก็มีผลต่อคุณภาพของขนมปังเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผงมอลท์ หรือแป้งมอลท์ ซึ่งใช้ป็นตัวทำเจือจางตัวหนึ่ง มีปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ในตัวมันเอง
ช่างทำขนมต้องอาศัยสารเสริมคุณภาพมากในการควบคุมคุณภาพของขนมปัง สารเสริมคุณภาพบางชนิดอาจเติมมาแล้วในแป้งขณะที่โม่ ซึ่งทางโรงงานควรแจ้งให้ช่างทำขนมทราบ เพื่อไม่ให้เกิดการเติมสารคุณภาพมากเกินไปซึ่งจะทำให้ได้ขนมปังที่ไม่ดี
สารเสริมคุณภาพที่นิยมใช้กันเป็นสารช่วยเร่งการสุกตัวของแป้ง การทำขนมปังด้วยวิธีการหมักแบบดั่งเดิม ปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนในก้อนแป้งมีเพียงจำกัด ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของแป้ง
การทำขนมปังโดยวิธีสมัยใหม่ อย่างเช่นการทำขนมปังแบบทุ่นเวลา ซึ่งตัดช่วงการหมักแป้งออก ต้องการปริมาณของสารเติมออกซิเจนในแป้งสูงกว่าการทำขนมปังแบบที่เคยทำกันมา
ส่วนประกอบและหน้าที่ของสารแต่ล่ะชนิดในสารเสริมคุณภาพ
ส่วนประกอบที่สำคัญ และหน้าที่ของสารเสริมคุณภาพมีดังนี้
หน้าที่ | ส่วนประกอบ |
ช่วยทำให้กลูเต็นเหนียวขึ้น | - โปแตสเซียม โบรเมท - กรดแอสคอร์บิค |
ช่วยทำให้กลูเต็นอ่อนตวลง | - แอล – ชีสเตอิน (ไฮโดรคลอไรด์) - โซเดียม เมต้า- ไบซัลไฟท์ |
อาหารของยีสต์ | - แอมโมเนียมคลอไรด์ (หรือแอมโมเนียมซัลเฟต) - ฟอสเฟต - สารประกอบของแคลเซียม |
แหล่งของเอ็นไซม์ | - อะมิเลส (ทำปฏิกิริยากับแป้ง) - โปรดีเอส (ทำปฏิกิริยากับกลูเต็น) เอ็นไซม์ทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถสกัดได้จากข้าวมอลท์ หรือจากเชื้อรา |
แป้งถั่วเหลืองชนิดที่มีเอ็นไซม์ประกอบด้วยเอ็นไซม์หลายตัว ซึ่งช่วยให้กลูเต็นอ่อนตัว และช่วยให้เนื้อขนมปังขาวขึ้น อิมัลซิไฟเออร์ ช่วยให้เนื้อขนมปังนุ่มขึ้น และช่วยให้อยู่ในสภาพที่สดใสได้นานขึ้น
การใช้สารเสริมคุณภาพที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้ขนมปังมีคุณภาพที่ดีขึ้น แต่หากใช้สารเสริมคุณภาพที่ไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเติมที่จากทั้งส่วนผสมและเครื่องจักร และในบางกรณีการใช้สารเสริมคุณภาพที่ไม่ถูกต้องอาจถึงกับทำให้ได้ขนมปังที่มีคุณภาพที่ขายไม่ได้
10. วัตถุกันเสีย (Preservatives)
การใช้วัตถุกันเสียใส่ลงในอาหารเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากการเน่าเสียของอาหารส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุมาจากพวกจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับอาหาร และโดยที่อาหารนั้นเป็นอาหารตามธรรมชาติของพวกจุลินทรีย์อยู่แล้ว โดยเฉพาะ พวกที่มีความชื้นและความเป็นกรด- ด่าง ที่พอเหมาะ ฉะนั้นการเติมวัตถุกันเสียลงไปก็เพื่อเป็นตัวช่วยในการชงักหรือทำลายจุลินทรีย์เหล่านี้วัตถุกันเสียนั้นเป็นสารประกอบเคมี ที่ใช้เติมลงไปในอาหารเพื่อชลอการเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บของอาหาร หรืออีกในหนึ่งก็คือ เพื่อยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารหรือวัตถุดิบนั้นเน่าเสีย ซึ่งสารบางชนิดจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างละเอียด พร้อมทั้งปริมาณการใช้ที่เหมาะสมและจัดเป็นอาหารที่ควบคุมชนิดหนึ่ง
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันบ่อย ๆ พอเป็นสังเขปดังนี้
1. เบนโซเอท (Benzoic acid และ Benzoates) นิยมใช้ในรูปของเกลือโซเดียม ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรด เช่น น้ำหวาน, น้ำผลไม้, แยม, น้ำสลัด, ผักดอง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%
2. ซอเบท (Sorbic acid และ Sorbates) เป็นสารกันบูดที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรดเช่นกัน ดังนั้นกลุ่มที่ใช้จึงใกล้เคียงกัน รวมทั้งพวกไส้ขนมต่าง ๆ ในการทำขนมขายส่ง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%
3. โปรปิโอเนท (Propionic acid และ propionices) มีความสามารถในการทำลายแบคทีเรียและราได้ดีกว่ายีสต์ นิยมใช้สารนี้ในผลิตภัณฑ์ขนมปัง, เค้ก, นิยมใช้แคลเซียมโปรปิโอเนทกับขนมปังมากกว่า เพราะเกลือแคลเซียม จะช่วยเป็นตัวปรับสภาพของก้อนโด ได้ด้วยส่วนเกลือโซเดียมและโปแตสเซียม นิยมใช้กับเค้ก ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย 0.1- 0.2%
ข้อมูลจากหนังสือ การบริหาธุรกิจเบเกอรี่ (Bakery Management '94) โดย บริษัท ทรีท็อป เคมีคัลแอนด์ฟูดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท อุตสาหกรรมแป้งข้าวสาลีไทย จำกัด และ http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=354699359358242903#editor/target=post;postID=7422213645363751979
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น