งานวิจัยกรมสุขภาพจิตชี้ 5 ปัจจัย ครอบครัวต้นเหตุเด็กฆ่าตัวตาย พ่อแม่ด่าทอ - ไม่มีเวลาให้ - กดขี่ - เครียด - ไร้ค่า แนะพูดจาให้เกียรติกันและกัน งดเว้นการดูถูกเหยียดหยาม กรณีเด็ก - หนุ่มฆ่าตัวตายเชื่อมีปมในใจเป็นทุนเดิมบวกการถูกบีบคั้นจิตใจรุนแรง
ปัจจัยภายในครอบครัวที่มีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายอย่างมาก คือ
1.การสื่อสารในครอบครัวที่ไม่เข้าใจกัน มีการใช้คำพูดที่รุนแรง คำด่าทอ เช่น “มึงโง่” โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มักได้ฟังคำพูดจากพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือญาติว่า “อยู่ไปก็ไม่ได้ทำประโยชน์ให้ใคร ให้ไปตายเสีย” คำพูดเหล่านี้อาจสร้างความน้อยใจให้เกิดขึ้นกับบุตรหลานโดยที่ไม่มีใครรู้
2. สัมพันธภาพในครอบครัวที่พ่อแม่ลูกหรือคนในครอบครัวเดียวกันไม่มีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันและกัน และไม่มีเวลาให้กันอย่างเพียงพอ ทำให้ไม่ทราบเรื่องราวความเป็นไปในชีวิตของแต่ละคน จึงไม่สามารถช่วยกันคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การคิดว่าหาทางออกไม่เจอของใครคนใดคนหนึ่ง จนคิดแก้ปัญหาในทางที่ผิดด้วยการฆ่าตัวตาย
3. วิธีการเลี้ยงดูแบบกดขี่ การสั่งการ โดยพ่อแม่มักคิดเองว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ฟังความต้องการหรือความคิดเห็นของอีกฝ่าย
4.การปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวต่อปัญหาเศรษฐกิจและความเครียด เกิดการแสดงออกหรือมีท่าทีที่ทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวห่างไกลกันมากขึ้น และ
5.บทบาทของสมาชิกในครอบครัว สมาชิกบางคนอาจรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่าที่จะอยู่ในครอบครัวต่อไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการถูกตอกย้ำความไร้ค่าจากสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวเดียวกัน
นายนิตย์ ทองเพชรศรี เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 จ.สงขลา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับกรณีนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมฆ่าตัวตายเพราะอกหักและติดยาและกรณีเด็กชายชาว อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ฆ่าตัวตายจากการที่พ่อบังคับให้ไปเรียนที่ กทม. ส่วนตัวเห็นว่าทั้งสองคนอาจมีปมบางเรื่องอยู่ในใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อต้องพบเจอกับเรื่องราวที่บีบคั้นจิตใจเพิ่มเติมกอรปกับการไม่มีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ จึงหาทางออกของปัญหาไม่ได้
“สิ่งที่คนในครอบครัวควรจะปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย ต้องเริ่มจากการพูดจากันในลักษณะที่ให้แต่ละคนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีหน้าที่ของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดชอบให้ดีที่สุด เว้นการด่าทอที่มีลักษณะเป็นการดูถูกหรือเหยียด หยามเกียรติ จนทำให้อีกฝ่ายน้อยใจ และสังเกตบุตรหลานหากเห็นมีการเศร้าซึมผิดปกติ หรือชอบหมกมุ่นอยู่คนเดียว ควรเข้าไปพูดจาถามไถ่เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา ซึ่ง สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนฆ่าตัวตาย”นายนิตย์กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เด็กซึ่งกำลังจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะมีความละเอียดอ่อนมาก จำเป็นต้องระวังความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ แม้จะเป็นเรื่องที่คนอื่นคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่ก็อาจเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กบางคนได้ จำเป็นต้องมีการพูดคุยกันด้วยเหตุผล อธิบายถึงผลดี ผลเสีย และรับฟังเด็กให้มากหากมีปฏิกิริยาหรือการต่อต้านเกิดขึ้น จำเป็นต้องอธิบายและค่อยๆ เปลี่ยนแปลงความคิดทีละนิดด้วยความเข้าใจ
“เด็กบางคนอาจมีปัญหาในเรื่องการปรับตัว การเปลี่ยนสภาพแวดล้อม บางครั้งเข้าข่ายเป็นโรคภาวะการปรับตัวผิดปกติ (adjustment disorder) คือ จะมีความสามารถในการปรับตัวต่ำ บางครั้งพบในผู้สูงอายุได้ด้วย แสดงอาการหลายอย่าง เช่น ซึมเศร้า ดื้อ ใช้อารมณ์ ใช้ความรุนแรง ซึ่งอาการเหล่านี้ บอกได้ยากว่าเกิดขึ้นกับเด็กกลุ่มใด ต้องใช้การสังเกตุเฝ้าระวังอาการที่ผิดปกติไป”นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญคือเรื่องการเก็บอาวุธปืน ควรเก็บให้พ้นมือและลับตาเด็ก เพราะปัจจุบันมีกรณีการใช้ความรุนแรงที่นำอาวุธปืนมาเกี่ยวข้อง ซึ่งเด็กอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ได้ตั้งใจ แต่เมื่อการที่เด็กได้สัมผัสอาวุธ ไม่ว่าจะเป็น ปืน มีด หรือ อาวุธอื่นๆ ก็อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงได้ เพราะเด็กยังถือว่ามีวุฒิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น