วันอาทิตย์, ธันวาคม 27, 2552

กลยุทธ์การปล่อยสินเชื่อ เอสเอ็มอีแบงก์ ปี 53


         กลยุทธ์การปล่อยสินเชื่อ เอสเอ็มอีแบงก์ ปี 53 กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (นายโสฬส สาครวิศว) กล่าวว่า กลยุทธ์การปล่อยสินเชื่อในปีหน้านั้น ธนาคารจะเพิ่มบทบาทของสาขาให้บริการครบวงจร (ONE STOP SERVICE) มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยที่ขอสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้จัดการสาขาจะมีหน้าที่ตั้งแต่การหาลูกค้า ประเมินราคาหลักประกัน อนุมัติวงเงินสินเชื่อภายใน 45 วัน รวมทั้งคอยติดตามดูแลลูกค้าภายหลังจากที่ได้รับสินเชื่อไปแล้ว โดยธนาคารตั้งเป้าหมายด้านสินเชื่อจะมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า20% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 12,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 43,960 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ที่ 43,500 ล้านบาท และสูงกว่าปีก่อน 112% คาดว่าสิ้นปีนี้ธนาคารจะมียอดสินเชื่อคงค้างที่ 55,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจเป้าหมายของ ธพว.จะเน้นธุรกิจเชิงสังคมตามนโยบายรัฐบาล เช่น ธุรกิจโอท็อป แฟรนไชส์ หนี้นอกระบบ ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร และธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น 
รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์)กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารได้กระจายอำนาจการอนุมัติวงเงินสินเชื่อไปสู่สาขา โดยผู้จัดการสาขาจะมีอำนาจในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อไม่เกิน แสนบาท ส่วนวงเงินตั้งแต่ แสนบาท ถึงล้านบาท ผู้จัดการสาขาจะต้องอนุมัติร่วมกับผู้อำนวยการภาคและกรณีวงเงิน 2-15 ล้านบาท ผู้อำนวยการภาคจะต้องอนุมัติร่วมกับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ แต่ถ้าวงเงินเกินกว่า 15 ล้านบาท จะต้องส่งให้สำนักงานใหญ่พิจารณา นอกจากนี้ ธนาคารยังมอบอำนาจการประเมินราคาหลักประกันตามระเบียบกำหนด โดยจะจัดลำดับเครดิตของลูกค้าออกเป็น เกรด ได้แก่ เกรด A B C และ จะดูความสามารถการชำระหนี้ของลูกค้าเป็นหลัก กรณีที่เป็นลูกค้าชั้นดีอาจจะได้รับการอนุมัติวงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 125% ของมูลค่าหลักประกัน แต่ถ้าลูกค้าผ่านการวิเคราะห์สินเชื่อแล้ว ปรากฏว่าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ แม้จะขอวงเงินสินเชื่อเพียง 50% ของมูลค่าหลักประกัน ธนาคารก็ไม่สามารถอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้ได้ (FOC NEWS)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น