วันศุกร์, พฤศจิกายน 20, 2552

การคงอัตราดอกเบี้ยต่ำของชาติพัฒนาแล้วเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตทางการเงิ

การคงอัตราดอกเบี้ยต่ำของชาติพัฒนาแล้วเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตทางการเงิน : ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)ระบุว่าการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินในประเทศพัฒนาแล้วโดยยึดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะกระตุ้นให้เงินทุนจำนวนมากไหลทะลักเข้ามาในประเทศเศรษฐกิจใหม่และทำให้เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวกระเตื่องขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีหากมีกระแสเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่องในระยะเวลานานอาจทำให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ต้องเผชิญกับภาวะความร้อนแรงและเกิดความปั่นป่วนทางการเงิน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยใหม่ที่ทำให้กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ต้องตกอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ สศค. วิเคราะห์ว่า ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในบางประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำ เช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่ร้อยละ 0 - 0.25 ขณะที่ในบางประเทศมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยในออสเตรเลียที่ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ Carry Trade คือ การกู้เงินสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาลงทุนซื้อสินทรัพย์ในประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายเงินทุน และความไม่สมดุลทางการเงินโลก ดังนั้น นโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ต้องคำนึงถึง Exit Strategies ที่เหมาะสมภายหลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น