วันอังคาร, พฤศจิกายน 17, 2552

จับทิศทางตลาดทองคำ "บูมจริง" หรือ "ฟองสบู่"


ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4158
การพุ่งทะยานของราคาทองอย่างรวดเร็วหลังจากธนาคารกลางอินเดียออกมาเปิดเผยว่า ได้ทำข้อตกลงซื้อทองประมาณครึ่งหนึ่ง จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ 200 ตัน นำมาซึ่งมุมมองบวกและลบต่อทิศทางในอนาคตของโลหะล้ำค่า โดยเฉพาะวิวาทะแห่งปี ระหว่าง"นูเรียล รูบินี" นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง เจ้าของฉายา "ดร.ดูม" และ "จิม โรเจอร์" นักลงทุนระดับตำนานคนหนึ่งของสหรัฐ
จิม โรเจอร์ ทำนายว่า ราคาทองจะวิ่งขึ้นไปทำสถิติสูงสุดถึง 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ขณะที่ศาสตราจารย์รูบินีแห่งวิทยาลัยธุรกิจ สเติร์น มหาวิทยาลัยแห่งนิวยอร์ก วิจารณ์มุมมองของโรเจอร์ ที่เชื่อว่าราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นเป็น เท่า อย่างน้อย 2,000 ดอลลาร์นั้น เป็นเรื่องไร้สาระโดยสิ้นเชิง เนื่องจากปัจจุบันไม่มีเงินเฟ้อหรืออยู่ในสถานการณ์ที่เข้าใกล้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง จนเป็นปัจจัยผลักดันราคาทองให้สูงได้ขนาดนั้น พร้อมกับเตือนให้ระวังฟองสบู่สินทรัพย์ ซึ่งก็รวมถึงฟองสบู่ตลาดทองคำด้วย
ความเห็นของรูบินีเรียกเสียงวิจารณ์จากโรเจอร์อีกครั้งว่า นักเศรษฐศาสตร์รายนี้ไม่ได้ทำการบ้านมา โดยตั้งข้อสังเกตว่า มุมมองของ ดร.ดูมที่เกี่ยวกับภัยคุกคามจากฟองสบู่ทองคำและ หุ้นในตลาดเกิดใหม่เป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะปัจจุบันมีสินค้า คอมโมดิตีส์อีกหลายตัวยังต่ำกว่าระดับสูงสุด และตลาดหุ้นก็ไม่อยู่ในภาวะเสี่ยงจะตกต่ำด้วย มุมมองต่างระหว่างโรเจอร์และรูบินี จุดประกายวิพากษ์วิจารณ์ต่อเป็นทอด ๆ ถึงความเป็นไปได้ในการเกิดฟองสบู่ทองคำและสินทรัพย์อื่น ๆ
ปัจจุบันราคาทองคำทำสถิติสูงสุด ในตลาดโคเม็กซ์ ของนิวยอร์ก เมอร์แคนไทล์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (11 พ.ย.) ที่ 1,117 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยที่ราคาตามธุรกรรมฟิวเจอร์ ส่งมอบปี 2553 ขยับขึ้นไปถึง 1,120 ดอลลาร์ ก่อนจะถูกแรงทำกำไรระยะสั้น ปรับราคาลงมาที่ระดับ1,106.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์
เมื่อวันพฤหัสบดี (12 พ.ย.)
เส้นทางการพุ่งทะยานผ่านระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากราคาทองคำทรงตัวที่ระดับ 999ดอลลาร์ต่อออนซ์ เมื่อ ตุลาคม ราคาก็ขยับขึ้นมาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ เมื่อ 13 ตุลาคม ที่ 1,064 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากนั้นก็ซึมกลับไปซื้อขายอยู่ที่ระดับ 1,055-1,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อยู่ระยะหนึ่ง
แนวโน้มระยะสั้นพุ่งต่อ หรือดิ่งลง
ราคาทองทำสถิติสูงสุดที่ 1,093.97 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนจะมีแรงเหวี่ยงขึ้นต่อเนื่อง ทะลุแนวต้าน 1,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นมาสำเร็จ และทำสถิติปิดบวกต่อเนื่องจนราคาไปได้ไกลถึง 1,122 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ราคาระหว่างวัน) ก่อนจะเผชิญแรงขายทำกำไรระยะสั้น ปรับมาอยู่ที่ 1,106 ดอลลาร์
เฉพาะเดือนพฤศจิกายนเดือนเดียวนับถึงปัจจุบัน ราคาทองคำปรับขึ้นมาแล้ว 7% และหากนับจากต้นปี ราคาทองพุ่งขึ้น 26% เทียบกับปี2551 ตลอดทั้งปี ราคาทองขยับขึ้นเพียง 5.5% เท่านั้น
ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังไป 10 ปีที่แล้ว ช่วงนั้นราคาทอง อยู่ที่ระดับมากกว่า 300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไม่มากนัก แต่ขณะนี้ นักวิเคราะห์บางรายมองแนวโน้มทองคำในระยะสั้นจะขยับขึ้นเพื่อทดสอบระดับจิตวิทยา ที่ 1,150-1,200 ดอลลาร์ และหากผ่านด่านทดสอบนี้ไปได้ ราคาจะวิ่งไปที่ระดับ 1,250 ดอลลาร์ และระดับ 1,300 ดอลลาร์ เป็นด่านต่อ ๆ ไป ภายใน เดือนข้างหน้า
บทวิเคราะห์ของเครดิต สวิส ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันอังคาร (10 พ.ย.) คาดการณ์ว่า แนวโน้มราคาทองคำจะปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งไปจนถึงสิ้นปี2552 จากปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ความต้องการลงทุนในโลหะมีค่าชนิดนี้ อัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ลดต่ำอย่างต่อเนื่อง จนถึงภาพรวมทางเทคนิคในเชิงบวกของตลาดทอง
โดยราคาทองจะซื้อขายที่ระดับ 950-1,050 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในช่วงสิ้นปีนี้ และปรับราคาลงมาอยู่ระหว่าง 900-1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในช่วงสิ้นไตรมาสแรกของปี 2553
โทเบียส เมแรธ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสินค้าคอมโมดิตี้ของเครดิต สวิส อธิบายถึงเหตุผลที่เครดิต สวิส มองแนวโน้มทองคำจะอ่อนลงในไตรมาสแรกของปี 2553 ว่า เป็นเพราะมีความเสี่ยง ที่จะเกิดสถานการณ์พลิกผัน โดยเฉพาะความเป็นไปได้ที่ดอลลาร์ของสหรัฐจะกลับมาแข็งค่าขึ้นในบางช่วงเวลาของต้นปีหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่อการเคลื่อนไหวของราคาทอง ประกอบกับในช่วงเวลานั้น ตลาดได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า ธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นขึ้นจากระดับใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์เป็นครั้งแรก ในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี 2553
ทั้งนี้ เครดิต สวิส ประเมินว่า ในปีนี้ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็น มาตรวัดค่าเงินสหรัฐ เทียบกับเงินประเทศคู่ค้า สกุลสำคัญ ปรับลงไปแล้ว 6.7%
ฟองสบู่ทองคำ ?
แม้ทองคำจะปรับราคาขึ้นมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะในปี 2552 อย่างไรก็ตามมุมมองต่อความเป็นไปได้ของการเกิดฟองสบู่ทองคำ ยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะมีมุมมองทั้งบวก และลบเกิดขึ้นในตลาด และในแวดวงผู้เชี่ยวชาญ
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ราคาปรับขึ้นไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา คือ การอ่อนค่าของดอลลาร์ ซึ่งนักวิเคราะห์ชี้ว่า แม้เงินสหรัฐจะแข็งค่ากลับขึ้นมาได้บ้างในบางเวลา แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็จะเป็นไปแบบช่วงสั้น ๆ ดังความเห็นของ ฮิเดโตชิ ยานากิฮารา นักยุทธศาสตร์การลงทุนในตลาดอัตรา แลกเปลี่ยน ของมิสุโฮะ คอร์ปอเรต แบงก์ ในนิวยอร์ก ที่ว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจมหภาคในสหรัฐยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อ อีกทั้งตราบใดที่เงินยูโรของสหภาพยุโรปไม่อ่อนค่าลงไปต่ำกว่า 1.4810 ดอลลาร์ต่อยูโร ก็มีความเป็นไปได้สูงเช่นกันที่ยูโรจะแข็งค่าขึ้นได้อีก
ด้วยเหตุนี้ ราคาทองจึงมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นได้อีก ตราบใดที่ดอลลาร์ยังคงอยู่ในเทรนด์อ่อนค่า
อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ที่ราคาทองจะปรับราคาลงอย่างฉับพลัน ดังคำเตือนของศาสตราจารย์รูบินี โดยประการแรก นักวิเคราะห์บางกลุ่มพบสัญญาณการเพิ่มจำนวนของออปชั่นที่ให้สิทธิในการขาย หรือ call option เพื่อทำกำไรระยะสั้นจากราคาทองที่ทะยานขึ้นไปอย่างมากในเดือนพฤศจิกายน
ปัจจัยประการที่สอง มาจากข้อสังเกตที่ว่าการพุ่งทะยานของราคาทองคำในระยะหลัง ๆ มาจากการเข้ามามีบทบาทของ นักลงทุนระยะสั้น และนักเก็งกำไร ไม่ใช่มาจากความต้องการที่จะถือครองทองคำจริง ๆ
ข้อมูลจากสภาทองคำโลกระบุว่า การลงทุนในตลาดทองคำได้พุ่งขึ้นถึง 51% ในไตรมาส ของปีนี้ แต่การใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องประดับที่ทำจากทองคำ อาทิ สร้อยคอ หรือแหวน ลดลง 20%
ประการที่สาม ปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนในตลาดทองคำยังมาจากการอยู่ในยุคของ "เงินถูก" อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำ และการเพิ่มสภาพคล่องผ่านการซื้อพันธบัตรระยะยาวของธนาคารกลางต่าง ๆ ด้วย
ตลอดจนกระแสการทำ dollar carry trade ซึ่งหมายถึงการที่เทรดเดอร์ หรือนักลงทุนไป กู้ยืมเงินที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ในที่นี้คือดอลลาร์สหรัฐ) มาลงทุนในสินทรัพย์
ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือในอีกสกุลเงินหนึ่งที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดฟองสบู่ของทองคำ
แต่ถึงกระนั้น ฟิทช์ เรตติ้ง กลับเตือนว่า ความกังวลในเรื่องฟองสบู่สินทรัพย์อาจเป็นมุมมองที่ด่วนสรุปเกินไป เพราะ สถานการณ์ในปัจจุบันอยู่ในช่วงที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ กำลังดำเนินนโยบาย เพื่อปรับให้ราคาสินทรัพย์มีมูลค่าสูงขึ้น อันเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น